Mar 13, 2009

ตามรอยเสน่ห์อันยาวนานนับ 40 กว่าปี Mahou Shojo การ์ตูนสาวน้อยเวทมนตร์

บท ความเอาใจสาวๆ ที่ชอบดูการ์ตูนแนวนี้ กับ หนุ่มๆที่ชอบสาวน้อยน่ารักกัน ในสมัยเด็กๆของใครหลายต่อหลายคนต่างก็เคยสัมผัสได้ชมการ์ตูนแนวนี้หลาย เรื่องทางฟรีทีวี ปัจจุบันการ์ตูนแนวนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมของคนทุกยุคทุกสมัย โดยสาวน้อยจอมเวทย์ของแต่ละเรื่องนั้นต่างก็มีความน่ารัก งดงาม ทั้งลักษณะรูปร่างและนิสัย แตกต่างกันไป แถมยิ่งดูก็รู้สึกสนุก ผ่อนคลายไปด้วย เราจะมาย้อนรอยความเป็นมาของการ์ตูนแนวนี้ที่มีเสน่ห์อันยาวนานถึง 41 ปีเลย

ความเป็นมาของสาวน้อยเวทมนตร์
การ์ตูนสาวน้อยเวทมนตร์ หรือ Mahou Shojo (บางทีก็เขียนอีกแบบหนึ่งว่า Mahou Shoujo) ก็ถือกำเนิดขึ้นในยุค 1960 ซึ่งในขณะนั้น ซี่รี่ย์อเมริกันเรื่อง Bewitched ได้รับความนิยมมากที่ญี่ปุ่น โดยเฉพาะกับเด็กผู้หญิง จนเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าอนิเมเตอร์ในยุคนั้น สร้างการ์ตูนอนิเมโดยเน้นเป้าหมายผู้ชมที่เป็นเด็กผู้หญิงเป็นหลัก ด้วยความนิยมของ Bewitched ทำให้ผู้สร้างตัดสินใจสร้างอนิเมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแม่มด ซึ่งตัวเอกนั้นก็เป็นแม่มดที่ภายนอกดูเป็นคนปกติธรรมดา แต่สามารถใช้พลังเวทมนตร์แก้ปัญญาจากเรื่องร้ายเป็นเรื่องดีได้ทุกๆวัน จุดนี้นี่เองทำให้การ์ตูนแนวสาวน้อยเวทมนตร์จึงอุบัติขึ้น เมื่อ มิตซึเทรุ โยโกยาม่า นักเขียนการ์ตูนเจ้าของผลงานเรื่อง หุ่นเหล็กหมายเลข 28 ได้ใช้แรงบันดาลใจจากละครซีรี่ย์เรื่องนี้ ไปสร้างสรรค์เป็นผลงานการ์ตูนตัวเอง ชื่อเรื่องว่า "แม่มดน้อยแซลลี่" (Mahoutsukai Sally) ในปี 1966 ลงในนิตยสาร Ribon ก่อนที่จะถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมในปีเดียวกัน นับเป็นการ์ตูนอนิเมสาวน้อยเวทมนตร์เรื่องแรกของโลก

แต่ สำหรับการ์ตูนสาวน้อยเวทมนตร์ในฉบับหนังสือการ์ตูนนั้น "แม่มดน้อยแซลลี่" กลับไม่ใช่เรื่องแรกที่ตีพิมพ์ แต่เป็น Himitsu no Akko-chan หรือ หนูน้อยอั๊กโกะจัง ซึ่งลงเคยลงในนิตยสารฉบับเดียวกัน เมื่อปี1962

แม่ มดน้อยแซลลี่ ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก จนทำให้มีการ์ตูนแนวนี้ผุดขึ้นอีกหลายๆเรื่องและสร้างตำนานมานักต่อนัก เช่น Himitsu no Akko-chan (หนูน้อยอั๊กโกะจัง),แม่มดน้อยลาล่าเบล,มิ้งกี้ โมโมะ,ครีมมี่ มามี่ จนกระทั่ง การมาของเซเลอร์มูน ที่ทำให้นิยามของการ์ตูนแนวสาวน้อยเวทมนตร์นั้นเปลี่ยนไป จากเดิมที่พวกเธอใช้เวทย์เพื่อเปลี่ยนร่าง,เสกสิ่งของ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขนั้น เป็นการใช้เวทมนตร์เพื่อผดุงความยุติธรรม ปราบปีศาจร้ายที่หวังจะยึดครองโลกมนุษย์ รวมไปถึงตัวเอกเริ่มมีพรรคพวกมาช่วยเธอด้วย โดยมารวมตัวเป็นทีมเดียวกัน ทำให้พวกเธอนั้นเป็นทั้งจอมเวทย์สาวน้อยและฮีโร่สาวผู้ผดุงความยุติธรรมไปใน ตัว ปัจจุบันนี้ก็มีการ์ตูนหลายเรื่องที่ได้อิทธิพลมาจากเซเลอร์มูนพอสมควร เช่น Wedding Peach,Tokyo Mew Mew,พริตตี้เคียว,นาโนฮะ เป็นต้น

ลักษณะเด่นๆของการ์ตูนแนวนี้
-ตัว เอกของเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเด็กสาวธรรมดา หรือ มีพลังเวทย์ติดตัวมาตั้งแต่เกิด พวกเธอเหล่านั้นก็มี คฑา,กำไล,ตลับแป้ง,ฯลฯ เป็นตัวเรียกพลังเวทย์ ในการจะใช้เวทย์ก็ต้องมีคำพูดในการร่ายเวทย์โดยใช้อุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นมา ประกอบกัน
-เวทมนตร์ที่ใช้ ก็เป็นเวทย์ที่สามารถเปลี่ยนร่างเป็น มนุษย์,สัตว์,สิ่งของ เวทย์ที่สามารถเสกสิ่งของ จนถึงเวทย์ที่ใช้ในการเผด็จศึกกับเหล่าร้าย
-ช่วงแรกๆ พวกเธอต้องคอยฝึกฝนเวทมนตร์,อุปกรณ์ที่ได้รับให้คล่อง เพื่อรับรู้ถึงอันตราย โดยเริ่มจากเวทมนตร์ง่ายๆจนถึงเวทมนตร์ขั้นสูง
-ในบางเรื่องพวกเธอเหล่านั้นก็ต้องมีสัตว์เลี้ยง,หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ สามารถพูดได้ คอยแนะนำพวกเธอในการใช้เวทย์ในรูปแบบต่างๆ
-จากการที่พวกเธอมีเวทมนตร์ ก็ทำให้พวกเธอเหล่านั้นต้องใช้ชีวิตแบบคนปกติโดยที่ต้องปิดบังความลับเรื่อง เวทมนตร์เหล่านั้นไม่ให้ใครรู้ หากมีคนล่วงรู้ความลับเรื่องเวทย์มนตร์ของพวกเธอ พวกเธอจะต้องประสบกับเคราะห์กรรมบางอย่างตามเงื่อนไขที่กำหนด ตามแต่กำหนดไว้ในแต่ละเรื่อง
-ลักษณะนิสัยของพวกเธอนั้น จะเรียนเก่งหรือห่วยแตกก็ช่าง แต่ส่วนใหญ่นั้นเป็นคนที่ร่าเริงสดใส มองโลกในแง่ดี
-พวกเธอเหล่านั้นจะใช้เวทมนตร์ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ ความรัก,มิตรภาพ และ ความหวัง รวมไปถึงพวกเธอไม่เคยใช้เวทย์ต่อสู้เพื่อล้างแค้นส่วนตัว และ สำหรับเรื่องที่มีสาวน้อยเวทมนตร์รวมกันเป็นทีมนั้น พวกเธอก็ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอยู่ด้วยกันเป็นทีม การทำงานร่วมกัน รวมถึงมิตรภาพระหว่างเพื่อนซึ่งมีมากขึ้นในทุกๆตอน

ตามรอยการ์ตูนMahou Shojoเรื่องเด่นดัง
(หมายเหตุ สำหรับการ์ตูนบางเรื่อง ชื่อของตัวละครจะเรียกแบบ นามสกุล-ชื่อ ตามความเคยชิน)

Mahoutsukai Sally (1966, 1989)
ตำนานบทแรกของ Mahou Shojo ฉายครั้งแรกเมื่อปี 1966 และ นำกลับมาทำฉายใหม่ ปี 1989 ซึ่งในบ้านเราก็เคยนำมาฉายในตอนเย็นวันธรรมดาทางช่อง3 โดย มิตซึเทรุ โยโกยาม่า ผู้แต่งเรื่องนี้ก็นำคอนเซปต์จากซีรี่ย์อเมริกันเรื่อง Bewitch มาเนรมิตรเป็น"แม่มดน้อยแซลลี่"ผู้นี้ พล็อตเรื่องหลักๆก็คือ แซลลี่ เจ้าหญิงจากAstoria ดินแดนแห่งแม่มด ได้ออกเดินทางไปยังโลกมนุษย์เพื่อต้องการหาเพื่อนใหม่ วันหนึ่งเธอก็ใช้เวทมนตร์ช่วยเหลือเด็กสาวสองคนให้รอดพ้นจากโจร เด็กสาวทั้งสองที่เธอช่วยเอาไว้นั้นก็คือ โยชิโกะ ฮานามูระ และ สุมิเระ คาสึงาโนะ ซึ่งต่อมาเธอทั้งสองก็กลายเป็นเพื่อนรักของแซลลี่โดยปริยาย แต่ในช่วงที่อาศัยอยู่ในโลกมนุษย์นั้น เธอต้องปกปิดความลับเรื่องที่เธอเป็นแม่มดด้วย

สำหรับ"แม่มดน้อยแซลลี่"นั้น ก็เป็นต้นแบบลักษณะเฉพาะตัว ของตัวละครคาแร็คเตอร์สาวน้อยเวทมนตร์ ซึ่งได้แก่

-เธอต้องปกปิดความลับเรื่องแม่มด,เวทมนตร์วิเศษไม่ให้ใครรู้ หากเธอเผยความลับเรื่องนี้ออกไป ก็จะถูกทำโทษ
-หากเธอใช้เวทมนตร์ จะต้องมีประโยคไว้ใช้สำหรับท่องคาถา พร้อมกับอุปกรณ์วิเศษ เช่น คฑา ไม้เท้า เป็นต้น โดยในเรื่องแซลลี่ เธอมีประโยคตอนท่องมนต์ร่ายเวทย์ว่า Mahariku Maharita Yanparayan
-สาวน้อยเวทมนตร์,แม่มดน้อยอย่างเธอนั้น จะต้องมีผู้ช่วยคอยติดสอยห้อยตามเธอในโลกมนุษย์ โดยในเรื่องนี้ แซลลี่ก็มี น้องสาวกับน้องชายของเธอคอยเป็นผู้ติดตาม (โดยในเวอร์ชั่นดั้งเดิม ปี 1967 นั้น ผู้ติดตามของแซลลี่ มีเพียงน้องชายเท่านั้น)


ซ้าย:เวอร์ชั่นปี 1967 ,ขวา:เวอร์ชั่นปี 1989

Himitsu no Akko-chan (1969, 1988, 1998)
อนิเมแนว Mahou Shojo เรื่องที่สองในประวัติศาสตร์ หลังจากที่แม่มดน้อยแซลลี่ ประสบความสำเร็จ ได้รับการตอบรับจากกลุ่มผู้ชมที่เป็นเด็กผู้หญิงเป็นอย่างดี ทำให้โตเอะ อนิเมชั่นไม่รอช้า จึงนำผลงานของ อ.ฟูจิโอะ อาคัตซึกะ อย่าง Himitsu no Akko-chan หรือ หนูน้อยอั๊กโกะจัง ที่เคยตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Ribon ช่วงปี 1962-1965 มาดัดแปลงเป็นการ์ตูนอนิเม ออกฉายปี 1969 -1970 มีความยาวทั้งหมด 97 ตอน ต่อจากนั้นก็มีการนำกลับมาทำใหม่ ฉายใหม่อีกครั้งในปี 1988 (61 ตอน) และ ปี1998 (44 ตอน) โดยเวอร์ชั่นของปี 1988 นั้น ทางช่อง 9 Modern Nine ก็เคยนำมาฉายเมื่อนานมาแล้ว

สำหรับ หนูน้อยอั๊กโกะจัง เป็นเรื่องราวของสาวน้อยนาม อัทสึโกะ คางามิ หรือ อั๊กโกะจัง ที่ทำกระจกของรักของหวงแตก ทันใดนั้นวิญญาณซึ่งเป็นราชินีแห่งโลกกระจกก็ปรากฏตัวขึ้น และมอบตลับกระจกวิเศษ(แต่ในฉบับหนังสือการ์ตูนเป็นกระจกขนาดใหญ่)แก่เธอ เพื่อตอบแทนที่เธอดูแลรักษากระจกเป็นอย่างดี ซึ่งตลับกระจกวิเศษนี้สามารถทำให้เธอแปลงร่างเป็นอะไรก็ได้ตามที่เธอต้องการ ด้วยคาถา เทคุมาคุมายาคอน

ลักษณะต่างๆ โดยรวมนั้น อั๊กโกะจังจะคล้ายๆกับแซลลี่ ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์เวทมนตร์ ,คู่หู,เพื่อน แต่ต่างกันตรงที่ อั๊กโกะจังจะใช้เวทมนตร์เพื่อเปลี่ยนร่างตนเองให้เป็นอะไรก็ได้ ส่วนแซลลี่นั้นจะเสกบุคคลที่3แปลงร่าง รวมไปถึง เนื้อเรื่องที่ใกล้เคียงกับโลกแห่งความจริงมากกว่า

ซ้าย:เวอร์ชั่นปี 1969 ,ขวา:เวอร์ชั่นปี 1988

Fushigi na Merumo (1971)
อาจเป็นผลงานที่บ้านเราไม่คุ้นเคยสักเท่าไหร่ หากใครได้เห็นลายเส้น แล้วคุ้นกับชื่อผู้แต่งท่านนี้ ก็จะร้องอ๋อทันที เพราะเรื่องนี้เป็นผลงานของ อ.เท็ตซึกะ โอซามุ ปรมาจารย์การ์ตูนญี่ปุ่นนั่นเอง แต่เดิมในฉบับหนังสือการ์ตูนใช้ชื่อเรื่องว่า มาม่าจัง(Mamaa-chan) แต่พอเป็นเวอร์ชั่นอนิเมในปี 1971 ชื่อของตัวละครหลักในเรื่องเปลี่ยนเป็น เมลโม่ (เมรุโม่) จนกลายเป็นชื่อเรียกของการ์ตูนเรื่องนี้ไปโดยปริยาย โดยผลงานเรื่องนี้ อ.โอซามุก็ได้เน้นธีมหลักคือเนื้อเรื่องการผจญภัย และ เน้นสอนให้เด็กๆเรียนรู้"เพศศึกษา" จึงทำให้ผู้ใหญ่ในสมัยนั้น ไม่ปลื้มเท่าใดนัก โดยเวอร์ชั่นอนิเมนั้นมีทั้งหมด 26 ตอน
เนื้อเรื่องคร่าวๆของเรื่องนี้ก็เป็น เรื่องราวของ เมลโม่ สาวน้อย 9 ขวบที่สูญเสียคุณแม่จากอุบัติเหตุ คุณแม่ของเธอที่อยู่บนโลกสวรรค์ก็ได้ขอพรมาหนึ่งข้อ ซึ่งเธอขอให้เมลโม่เติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างเร็วและใช้ชีวิตดูแลน้องชายทั้ง สองได้โดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่มาดูแล โดยคุณแม่ก็ลงมาหาเมลโม่ในสภาพของภูติผี และให้ขวดบรรจุลูกกวาดแก่เธอ โดยลูกกวาดน้ำเงินจะทำให้เธอกลายเป็นสาววัย 19 ปี ส่วนลูกกวาดสีแดงนั้นจะทำให้เธอกลายเป็นเด็กอีกครั้ง

Majokko Megu-chan (1974)
สำหรับ Majokko Megu-chan นั้นเป็นผลงานการ์ตูนของ โทโมะ อิโนะอุเอะ กับ อาคิโอะ นาริตะ ก็ถูกดัดแปลงเป็นอนิเมความยาว 72 ตอน โดยโตเอะ อนิเมชั่น ในช่วงปี1974-1975 การมาของเรื่องนี้ ก็เริ่มก้าวไปสู่ยุคสมัยใหม่ของการ์ตูนแนวนี้ ในแง่ของความทันสมัยของเนื้อเรื่อง,พัฒนาการทางด้านอารมณ์ของตัวละคร อีกเช่นกัน จนการ์ตูนแนว Mahou Shojo ยุคหลังๆนำพล็อต ลักษณะเด่นๆของเรื่องนี้ไปดัดแปลง

พล็อต เรื่องคร่าวๆนั้น เมงุ แม่มดน้อยที่อยากจะรู้จักโลกภายนอกมากขึ้น ด้วยการมาเยือนโลกมนุษย์ ที่นั่นเธอได้รับการดูแลและเรียนรู้การใช้เวทมนตร์ จาก แมมมี่ คันซากิ อดีตแม่มด โดยเธอนั้นจะต้องใช้เวทมนตร์เพื่อต่อสู้กับปีศาจ และ จอมเวทย์คู่แข่ง อีกทั้งเธอยังต้องต่อสู้กับศัตรูที่แท้จริง นั่นก็คือ จิตใจด้านมืดของมนุษย์นั่นเอง

Hana no Ko Lunlun (1979)
สำหรับการ์ตูนเรื่องนี้ก็เคยเข้าฉายในบ้านเรามานานแล้วเหมือนกัน ซึ่งคนที่ได้ชมตอนนั้น ต่างก็จำได้กับชุดของ"ลุนลุน" หรือ ลูลู่ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามพลังของดอกไม้

นานมาแล้ว ที่นางฟ้า ภูติพืช อาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์ แต่ทว่ามนุษย์กลับมีจำนวนมากขึ้น และ มีความโลภ จิตใจโหดร้ายมากขึ้น จนทำให้เหล่านางฟ้าและภูติพืช ต้องย้ายไปสร้างโลกใหม่ที่ชื่อว่า ดาวบุปผา (Flower Star) ซึ่งมนุษย์ที่จะเข้ายังดาวนี้ได้นั้นต้องเป็นคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ มีความรักและความเมตตากรุณา ว่าแล้ว นูโวและคาโต้ คู่หูสุนัขแมวจึงถูกส่งมายังโลกเพื่อเสาะหาเด็กสาว ผู้สืบทอดเป็นธิดาบุปผา เพื่อช่วยพวกเขาตามหาดอกไม้เจ็ดสี สัญลักษณ์ประมุขแห่งดาวบุปผา และในที่สุดพวกเขาก็ได้พบกับ ลูลู่ เด็กกำพร้าที่ถูกเลี้ยงดูโดยคุณปู่คุณย่าเจ้าของร้านดอกไม้ แท้จริงแล้วเธอคือเด็กผู้หญิงคนสุดท้ายที่สืบสายเลือดจากเทพธิดาบุปผา ทั้งสามจึงออกเดินทางไปเสาะหาดอกไม้เจ็ดสีทั่วยุโรป ในระหว่างการผจญภัย นอกจากพวกเขาจะต้องคอยช่วยเหลือผู้คนด้วยการโปรยเมล็ดแห่งคุณงามความดีแล้ว พวกเธอยังต้องต่อสู้กับ พรรคพวกของโทเกนิเชีย นางฟ้าผู้ชั่วร้าย ที่หวังจะเอาดอกไม้เจ็ดสีด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ลูลู่ก็มีอุปกรณ์พิเศษซึ่งได้มาจากกษัตริย์แห่งดาวบุปผา นั่นคือ กระจกดอกไม้ของเธอ เมื่อไหร่ก็ตามที่พบดอกไม้ ก็จะอาศัยพลังของดอกไม้และร่ายคาถา "Fu Flay Lu Fey Lora" ทำให้ชุดที่เธอสวมใส่ก็จะเปลี่ยนไปด้วย และ ใช้ประโยชน์ได้ตามแต่สถานการณ์นั้นๆ

Mahou Shojo Lalabel (1980)
เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เคยสร้างความประทับใจแก่สาวน้อยเมื่อ 20 ปีมาแล้ว เรื่องราวของ ลาล่าเบล แม่มดน้อยที่หลุดมิติมายังโลกมนุษย์พร้อมกับแมวเหมียวคู่ใจ บิร่า ขณะที่กำลังหยุดยั้งความชั่วของพ่อมด วิสกัส ลาล่าเบลได้รับการดูแลเลี้ยงดูอย่างดีจากคุณตาคุณยายรวมไปถึงได้สนุกสนาน ร่วมกับเพื่อนๆที่โรงเรียน เธอก็จะคอยใช้ไม้กายสิทธิ์คอยร่ายเวทย์ Belalulu Belalulu Belalalula! ต่อสู้กับวิสกัสเพื่อแย่งกระเป๋าเวทมนตร์กลับคืนมา

Mahou no Princess Minky Momo (1982)
หนึ่งในMahou Shojo ที่อยู่ในความทรงจำของใครหลายคน บ้านเราเคยฉายทั้งสองภาค แต่ใช้ชื่อไม่เหมือนกันคือ จีจี้สาวน้อยกายสิทธิ์ และ มิงกี้ โมโม่

ในภาคแรก โมโม่ หรือ จีจี้ นั้นเป็นเจ้าหญิงแห่งFenarinarsa อาณาจักรแห่งความฝันบนท้องฟ้า แต่ทว่าด้วยความที่มนุษย์โลกนั้นกำลังลืมเลือนความฝันและความหวัง จนมีผลทำให้อาณาจักรนี้อาจสูญหายในอนาคต โมโม่จึงถูกส่งไปยังโลกมนุษย์ โดยเป็นลูกเลี้ยงของคู่สามีภรรยาหนุ่มสาวที่ยังไม่มีบุตร เพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำความฝันของมนุษย์กลับคืนมา และดลบันดาลให้ความฝันนั้นเป็นจริง ร่วมกับเหล่าสรรพสัตว์ผู้ติดตาม ลิง,สุนัข และ นก ซึ่งเธอนั้นก็มีไม้เท้ากายสิทธิ์สามารถแปลงกายได้ และเมื่อไหร่ก็ตามที่โมโม่ทำความดี เพชรบนยอดมงกุฎก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อครบ 12เม็ด อาณาจักรแห่งความฝันก็จะเข้าสู่โลกมนุษย์

ในภาคสอง เนื้อเรื่องคล้ายกับภาคแรก แต่ต่างกันตรงที่ โมโม่ในภาคสองนั้นมาจาก Marinasa อาณาจักรแห่งความฝันใต้ท้องทะเล

Mahou no Tenshi Creamy Mami (1983)
สำหรับเรื่องนี้ จัดเป็นอนิเมแนวmahou shojo เรื่องแรกของStudio Pierrot ใครที่เป็นแฟน "ออเร้นจ์ โรด" ก็น่าจะคุ้นเคยกับลายเส้นเรื่องนี้ดี เพราะ ทาคาดะ อาเคมิ เป็นคนออกแบบตัวละคร และเรื่องนี้ก็ต่างจากmahou shojo เรื่องอื่นๆนิดหน่อย ก็ตรงที่นางเอกของเรื่องนั้นใช้เวทมนตร์แปลงจากเด็กสาวธรรมดากลายเป็นนัก ร้องไอด้อลชื่อดังตลอดทั้งเรื่อง และเรื่องนี้ก็เป็นก้าวแรกอันสำคัญสำหรับการบุกเบิกด้านการตลาดในแง่ของ มีเดีย มิกซ์ ซึ่งก็คือ การโปรโมทอนิเมมานำเสนอในรูปแบบของสื่ออื่นๆหลายทิศทาง นอกจากจะเป็นการโปรโมทอนิเมเรื่องนี้แล้ว ก็ยังเป็นการโปรโมทนักร้องไอด้อลไปในตัวด้วย โดยเฉพาะกับ ซิงเกิ้ลเพลงเปิดของเรื่องอย่าง Delicate ni Suki Shite ผลงานการขับร้องของทาคาโกะ โอตะ นักร้องไอด้อลผู้พากย์เสียงครีมมี่ มามิ นั่นเอง โดยซิงเกิ้ลดังกล่าวก็ประสบความสำเร็จ และเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับเธอคนนี้อีกด้วย

เรื่อง ราวของ ยู โมริซาว่า สาวน้อยธรรมดาวัย 10 ขวบ ได้พบกับยานอวกาศกำลังลอยอยู่บนฟากฟ้า และได้ช่วยเหลือสัตว์ต่างดาว ปิโนะ ปิโนะ หาดาว Feather Star ดาวบ้านเกิดของเขาเจอ เขาซึ่งในบุญคุณมาก จึงมอบคฑาวิเศษที่สามารถแปลงร่างเป็นเด็กสาววัย 16 ปีได้ 1 ปีถัดมา เธอก็ได้รับแมวจากFeather Star 2 ตัว ซึ่งก็คือ โปจิ กับ เนกะ มาดูแลแนะนำเธอตอนที่เธอใช้เวทมนตร์
วันหนึ่งยูในร่างของสาววัย 16 กำลังเดินรอบเมืองอยู่นั้น ก็ถูกรายการทีวีทาบทามให้ไปร้องเพลง โดยเธอ(ในร่างสาว 16 )จึงใช้ชื่อในวงการมายาว่า "ครีมมี่ มามิ" จนเป็นก้าวแรกในเส้นทางสายบันเทิงในฐานะนักร้องไอด้อลผู้โด่งดัง

Magical Fairy Persia (1984)
Mahou Shojo เรื่องที่สองของ Studio Pierrot เปอร์เซีย สาวน้อยชาวญี่ปุ่นที่เติบโตที่แอฟริกา ขณะกลับญี่ปุ่น เปอร์เซียได้ท่องไปยัง Lovely Dream โลกนางฟ้าโดยบังเอิญ เธอก็ได้รับรู้จากนางฟ้าถึงสันติภาพความสงบสุขของโลกกำลังเสื่อมถอย และ มีผลทำให้โลกนางฟ้ากำลังตกอยู่ในอันตรายด้วย เธอจึงยอมตกลงช่วยเหลือ โดยใช้คฑาที่ได้รับจากนางฟ้า ใช้ในการทำภารกิจต่างๆเพื่อให้ผู้คนมีความสุข อีกทั้งเธอยังสามารถแปลงกายเป็นเด็กสาวอายุ 17 ได้(โดยพูดว่า Love, Love, Lovely Twinkle) พร้อมมีเจ้าตัวกัปปะน้อย 3 ตัว เป็นคู่หูคอยสังเกตการณ์


Magical Star Magical Emi (TV)(1985)
Mahou Shojo เรื่องที่ 3 ของ Studio Pierrot และเป็นอีกเรื่องที่ ทาคาดะ อาเคมิเป็นคนออกแบบตัวละครเช่นเดียวกับ Creamy Mami แต่คราวนี้เป็นเรื่องราวของสาวน้อยธรรมดากลายเป็นนักมายากล โดย โคซึกิ ไม นักเรียนชั้นประถมผู้ใฝ่ฝันอยากเป็นนักมายากล แต่เธอยังเด็กเกินไปที่จะฝึกมัน เธอได้รับความช่วยเหลือจากโทโปะ นางฟ้าจากโลกกระจก โทโปะได้มอบไม้เล่นกลแก่ไม ซึ่งทำให้เธอสามารถแปลงกายเป็นนักมายากลสาวสวยนาม เอมิ แห่งคณะมายากล Magicarat ซึ่งเป็นคณะมายากลของคุณตาคุณยายของเธอ

Magi Idol Pastel Yumi (1986)
เป็นการ์ตูนแนวสาวน้อยเวทมนตร์เรื่องที่4 ของ Studio Pierrot เรื่องราวของ สาวน้อยยูมิที่ชื่นชอบดอกไม้และรักการอ่านการ์ตูน วันหนึ่ง นางฟ้า 2 ตนนาม คาคิมารุ กับ เคชิมารุ เห็น ยูมิกำลังมีปัญหาหนักใจ จึงเข้าไปช่วยเหลือโดยมอบคฑาเวทมนตร์แก่เธอ เมื่อไหร่ก็ตามที่ยูมิใช้คฑาวาดรูปในอากาศ สิ่งที่เธอวาดออกมานั้นจะเป็นจริง

อนึ่ง หลังจาก MAGIC IDOL PASTEL YUMI จบลง ก็มี OVA ที่สาวน้อยเวทมนตร์จากทั้ง 4 เรื่องของStudio Pierrot ได้แก่ มามิ,เปอร์เซีย,เอมิ และ ยูมิ มาร่วมมือกันปราบสัตว์ประหลาดนอกโลก ในชุด Majokko Club Yoningumi A-kukan kara no Alien X โดยวางขายในปี 1987

Devil Hunter Yohko 1990
ส่วนเรื่องนี้ก็ไม่เชิงเป็นสาวน้อยเวทมนตร์เท่าไหร่ แต่เขาดันจัดให้อยู่ในประเภทนี้ เนื้อเรื่องดูจะเน้นปราบมารมากกว่าอีกทั้งยังเน้นฉากเซอร์วิส ฉากวาบหวิว อยู่หลายฉาก จึงไม่ได้เข้าฉายทางฟรีทีวีบ้านเรา แต่ก็เคยมีบริษัทวีดีโอเจ้าหนึ่งนำไปทำด้วยล่ะ อีกทั้งน่าจะเป็นเรื่องแรกๆ ที่นางเอกนั้น มีคู่หูซึ่งมีความสามารถด้านเวทมนตร์เหมือนกัน มาช่วยนางเอกต่อสู้ร่วมกันด้วย

โย โกะ มาโนะ สาวน้อยวัย 16 ถึงปกติเธอเป็นคนที่บ้าผู้ชายสุดๆ แท้จริงแล้วเธอนั้นเป็นผู้สืบทอดนักปราบปีศาจรุ่นที่ 108 ของตระกูลมาโนะ (จริงๆแล้วต้องเป็นแม่ของโยโกะ แต่ว่า แม่โยโกะขาดคุณสมบัติของนักปราบปีศาจ ซึ่งก็คือ ต้องเป็นหญิงสาวที่บริสุทธิ์) ซึ่งโยโกะนั้นก็ต้องคอยเรียนรู้วิธีการต่างๆจาก มาโดกะ คุณยายของเธอซึ่งเป็นนักปราบปีศาจรุ่นที่ 107

Hime-chan no Ribbon (1990)
ฮิเมะจัง โบว์แดงแรงฤทธิ์ เป็นMahou Shojo ที่มีพล็อตเรื่องเป็นไปตามสูตรสำเร็จของการ์ตูนแนวนี้เป๊ะๆเลย เรื่องราวของ ฮิเมโกะ โนโนฮาร่า สาววัย 13 ปี ที่กำลังกลุ้มกับนิสัยทอมบอยของเธอ วันหนึ่งเธอถูกพาไปยังโลกเวทมนตร์ โดยเด็กผู้หญิงที่หน้าตาเหมือนกับเธอซึ่งก็คือ เอริก้า เจ้าหญิงแห่งดินแดงแห่งนี้ เอริก้าอธิบายว่า ดินแดนนี้คือโลกเสมือนของโลกมนุษย์ และเธอก็รู้เรื่องทั้งหมดแล้ว เธอจึงมอบริบบิ้นสีแดงให้ฮิเมโกะ เอาไปใช้ทำอะไรก็ได้ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งริบบิ้นวิเศษนี้สามารถทำให้เธอแปลงกายเป็นใครก็ได้ในโลกมนุษย์ภายในเวลา 1 ชั่วโมง หากไม่สามารถท่องมนต์กลับคืนร่างเดิมภายใน 1 ชม. เธอก็จะไม่สามารถกลับคืนร่างเดิมได้อีกตลอดไป และ หากเผยความลับเรื่องริบบิ้นวิเศษและโลกเวทมนตร์ให้คนอื่นรู้ เธอก็จะถูกลบความทรงจำออกทั้งหมด

Mahou no Angel Sweet Mint 1990
"มินต์ สาวน้อยกายสิทธ์ " เรื่องราวของสาวน้อย มินต์ที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าหญิงแห่งดินแดนความฝัน และเวทมนตร์ เธอพบว่าสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในดินแดนของเธอนั้นมีผลต่อความฝันของผู้คนบนโลก มนุษย์ด้วย ซึ่งขณะนี้ผู้คนบนโลกต่างก็สูญเสียความฝันและมีความมืดครอบงำในจิตใจ มีผลทำให้โลกแห่งความฝันถึงคราวล่มสลายไปด้วย เธอจึงตัดสินใจลงไปยังโลกมนุษย์เพื่อสร้างความฝันและความหวังของผู้คนบนโลก มนุษย์ให้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง และดลบันดาลให้ความฝันนั้นเป็นจริง



Hana no Mahoutsukai Mary Bell (1992)
"แม่มดน้อยแมรี่เบล" ก็จัดเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ได้ออกฉายหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ฮ่องกง ,เกาหลีใต้,อิตาลี,จีน,ไต้หวัน,โปแลนด์,ประเทศแถบอาหรับ แล้วก็ประเทศไทย โดยออกฉายทางช่อง 9 ซึ่งเนื้อเรื่องก็ออกแนวใสๆ ที่ยังคงมีพล็อตคลาสสิคของการ์ตูนแนวนี้ ต่างกันตรงที่ แมรี่เบลนั้น ถึงภายนอกจะดูเหมือนเด็กอายุ 5 ขวบ แต่จริงๆแล้วเธอมีอายุถึง 500,000 ปีทีเดียว เธอมาจากโลกดอกไม้เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ แรกเริ่มเธอช่วยเหลือเด็กสองคนที่กำลังหลงป่าพาไปส่งถึงที่บ้านซึ่งเป็นร้าน ขายดอกไม้ที่มีกิจการไม่ดีนัก พอพ่อแม่ของสองคนนั้นรู้เรื่องนี้เข้า ก็เลยช่วยกันขอพรให้แมรี่เบลมาช่วยเหลือ เธอปรากฏตัวมาทันทีและช่วยให้ร้านขายดอกไม้ของเขาให้เจริญรุดหน้าไป โดยเธอนั้นก็มีทัมโบรลีนเป็นอุปกรณ์วิเศษพร้อมกับร่ายคาถา Mari rin, beru run, rin rin rin!

Sailor Moon (1992)
ในที่สุดก็มาถึง Mahou Shojo ที่เป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์อันน่าจดจำ สำหรับผลงานดังของ อ.นาโอโกะ ทาเคอุจิ (ปัจจุบันเป็นภรรยาของ อ.โยชิฮิโร่ โทงาชิ ผู้แต่ง HunterXHunter) ถือเป็นการสร้างกระแสความนิยมให้กับเด็กผู้หญิง และ หนุ่มๆในยุคนั้นเลย สำหรับเวอร์ชั่นอนิเมนั้นเป็นผลงานการสร้างของโตเอะ อนิเมชั่น ซึ่งในตอนนั้น อนิเมของเซเลอร์มูนก็ได้รับความนิยมมาก จนต้องทำภาคอื่นๆตามมา ได้แก่ Sailor Moon ,Sailor Moon R,Sailor Moon S,Sailor Moon SS และ Sailor Moon Star เป็นการปิดท้ายบทสรุปทั้งหมดของเรื่อง ด้วยความนิยมคลั่งไคล้ในตัวอัศวินสาวเซเลอร์มูน ทำให้สินค้าต่างๆที่เกี่ยวกับเซเลอร์มูนต่างก็ขายดิบขายดี ไม่ว่าจะเป็น ซีดีซิงเกิ้ลเพลงประกอบอนิเม ของเล่น ฟิกเกอร์โมเดล เกม รวมถึงสินค้าและสื่อประเภทอื่นๆ นอกจากนี้ยังเคยได้รับรางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม สาขาการ์ตูนผู้หญิง ของสำนักพิมพ์โคดันฉะ และ ได้รับการโหวตให้เป็นอนิเมยอดนิยมอันดับ 1 จากรางวัลอนิเมกรังปรีซ์ ครั้งที่ 15 ในปี 1993 ในปี 2004 เซเลอร์มูนก็ถูกนำกลับมาทำใหม่อีกครั้งในรูปแบบ ละครซีรี่ย์คนแสดง

เซ เลอร์มูนนั้นก็เป็นเรื่องที่สร้างกระแสการ์ตูนแนวBishoujo(มีสาวงามมากกว่า 1 คนในเรื่องมารวมกัน)ให้กับหนุ่มๆเป็นอย่างมาก ซึ่งในเรื่องก็เป็นการนำสาวๆผู้ที่สามารถใช้เวทมนตร์ได้ มากกว่า 1 คน มารวมทีมกัน โดยมีจุดประสงค์หลักในการปกป้องพิทักษ์โลก จนกลายเป็นต้นแบบของการ์ตูนแนวเดียวกันในเรื่องหลังๆ
เซเลอร์มูน ก็มีแนวคิดคอนเซปต์ง่ายๆ นั่นก็คือ ชื่อสมาชิกแต่ละคนจะเป็นตัวแทนผู้พิทักษ์อาณาจักรจากดวงดาวต่างๆในระบบ สุริยะจักรวาล แถมยังนำชุดนักเรียนคอปกกะลาสีมาดัดแปลงเป็นยูนิฟอร์มในยามออกศึกจนเป็น เอกลักษณ์ที่หลายคนต่างจดจำกัน และนางเอกของเรานั้นจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษนอกจากอุปกรณ์หลักที่มี โดยใช้ในการเผด็จศึกปิดบัญชีศัตรู

เรื่อง ราวของ ทสึกิโนะ อุซางิ เด็กสาวธรรมดาๆที่ทำอะไรไม่ได้เรื่องสักอย่าง ได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโลกกำลังถูกรุกรานโดยอาณาจักรแห่งความมืด"Dark Kingdom" จากปากของ ลูน่า แมวดำที่สามารถพูดได้ แถมยังรู้ความจริงอีกว่า ในอดีต อุซางิ เคยเป็นเจ้าหญิงแห่งดวงจันทร์ แต่อาณาจักรของเธอก็ล่มสลายเพราะDark Kingdomอีกด้วย ทำให้เธอตัดสินใจออกไปต่อสู้ในนามของ "อัศวินแห่งจันทรา เซเลอร์มูน" พร้อมกับพรรคพวกของเธอประกอบไปด้วย เซเลอร์เมอร์คิวรี่(มิซึโนะ อามิ),เซเลอร์มาร์ส(ฮิโนะ เรย์),เซเลอร์จูปีเตอร์(คิโนะ มาโคโตะ),เซเลอร์วีนัส(ไอโนะ มินาโกะ) ฯลฯ มาช่วยกันปกป้องโลกใบนี้ให้ได้ หลังจากปราบDark Kingdomได้แล้ว พวกเธอยังต้องคอยปราบเหล่าร้ายกลุ่มอื่นๆที่หวังจะยึดครองโลกนี้อีก จนกระทั่งภาคสุดท้าย

Super Pig (1994)
หรือ Babibure Burin หรือ บูริน หมูน้อยอวกาศในฉบับภาษาไทย สำหรับเรื่องนี้ก็ต่างจากการ์ตูนสาวน้อยแปลงร่างเรื่องอื่นๆตรงที่ หากเป็นเรื่องอื่นๆตัวเอกจะต้องแปลงร่างกลายเป็นสาวงาม แต่เรื่องนี้นางเอกกลับแปลงร่างเป็นหมูอ้วน(แต่ก็คงความน่ารักเอาไว้) โดย คาริน โคคุบุ ที่พบกับเจ้าหมูสีเหลืองที่กำลังหิวโหย เธอก็ช่วยเหลือโดยการให้แอ๊ปเปิ้ลแก่หมูตัวนั้น(แต่ต้องแลกกับการไปโรงเรียน สาย) แต่เจ้าหมูตัวนั้นยังแอบซ่อนอยู่ที่เป้ของเธอ และเธอก็พบว่าเจ้าหมูตัวนั้นบินได้และพูดได้ และเผยว่าตนคือเจ้าชาย Tonrariano ที่ 3 แห่งดาว Buuringo แล้วก็ได้มอบอุปกรณ์วิเศษและวิธีใช้ให้กับเธอ เมื่อเธอเปิดมันเมื่อไหร่ จมูกหมูจะติดที่หน้าของเธอ พร้อมกับพูดว่า BA BI BU BE BOorin! เธอจึงสามารถแปลงร่างเป็น บูริน ผู้พิทักษ์คุณธรรมในร่างของหมูสีชมพู และเมื่อไหร่ก็ตามที่เธอได้ทำความดีช่วยเหลือคน เธอก็จะได้ไข่มุกแห่งความดีมาเก็บสะสม และหากสะสมได้ครบ 108 เม็ด ก็จะสามารถขออะไรก็ได้ตามที่ตนต้องการ และหากตัวอักษรสีแดงที่ติดบนหน้าท้องของบูรินนั้นหายไป คารินก็จะต้องอยู่ในร่างหมูตลอดชีวิต!!

Saint Tail (1995)
เซนต์เทลจัดเป็นสาวน้อยเวทมนตร์ในรูปแบบของโจรสาวที่กระทำเพื่อความถูกต้อง ซึ่ง เมย์มิ ฮาเนโอกะ จะต้องแปลงร่างเป็น เซนต์เทล คอยนำสิ่งของที่ถูกขโมยนั้นกลับคืนแก่เจ้าของหรือคนบริสุทธิ์ โดยภารกิจของเธอนั้นก็จัดว่ายุ่งยากสุด เพราะจะต้องคอยรับมือกับพวกตำรวจอีกด้วย โดยเฉพาะกับ อาสึกะ จูเนียร์ ลูกชายของนักสืบดัง แถมเป็นเพื่อนร่วมชั้นของเธอด้วยนี่สิ!!

Akazukin Chacha (1995)
แม่มดน้อยชาช่า ก็เป็นเรื่องที่นำ "หนูน้อยหมวกแดง" มาเป็นคอนเซปต์ของสาวน้อยชาช่า โดยชาช่ากับเพื่อนๆของเธอนั้นเรียนวิชาเวทมนตร์ที่ภูเขาโมจิโมจิกับเซราวี่ จอมเวทย์ที่เก่งกาจที่สุด ปกติชาช่ามักท่องมนต์พลาดเป็นประจำ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เธอและเพื่อนๆตกอยู่ในอันตราย เธอกลับร่ายคาถาได้ถูกต้อง

สำหรับ เรื่องนี้ในฉบับหนังสือการ์ตูนนั้น เป็นผลงานการแต่งของ มิน อายาฮานะ ลงในนิตยสารRibon ช่วงปี 1991-2000 ส่วนฉบับอนิเมชั่นนั้นมีทั้งหมด 74 ตอน และ การ์ตูน เน็ตเวิร์ค เคยนำเรื่องนี้ไปฉายในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ประเทศที่พูดภาษาจีนกลาง

Magic Knight Rayearth (1995)
หนึ่งในผลงานสร้างชื่ออีกงานหนึ่งของ Clamp ลงตีพิมพ์ในนิตยสารนากาโยชิ ตั้งแต่ปี 1993-1996 ฉบับรวมเล่มแบ่งเป็น 2 ภาค ภาคละ 3 เล่ม และ เรื่องนี้ก็ถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมในปี 1994 และ ปี 1997 ก็ถูกนำไปสร้างในรูปแบบ OVA

ซึ่ง สมาชิกของเรย์เอิร์ธก็ประกอบไปด้วย ฮิคารุ ชิโด,อุมิ ริวซากิ,ฟู โฮโอจิ และ โมโคน่า ซึ่งคอนเซปต์ของแต่ละคนก็เอามาจากสมาชิกทั้ง 4 ของClamp ส่วนคนอื่นๆและสถานที่ในเรื่องนั้นต่างเป็นชื่อรุ่นของรถยนต์ทั้งสิ้น

ฮิ คารุ ชิโด,อุมิ ริวซากิ,ฟู โฮโอจิ เป็นเด็กสาวจากต่างโรงเรียนที่หลุดมิติมายังดินแดนCephiro แล้วก็พบกับจอมเวทย์Clef ที่ได้ให้พลังเวทย์แก่พวกเธอไปใช้ในการต่อสู้ และเล่าเรื่องเกี่ยวกับดินแดนแห่งนี้ว่ากำลังจะตกอยู่ในอันตราย ซึ่งภารกิจหลักของเธอก็คือการนำเจ้าหญิงเอเมอรัลด์ที่ถูกจับตัวไปนั้นกลับ คืนมา อีกทั้งClefยังมอบ โมโคน่า เป็นตัวนำทางให้กับพวกเธออีกด้วย

นอกจากนี้ เจ้าโมโคน่า ยังปรากฏตัวในเรื่อง XXX Holic และ Tsubasa Reservoir Chronicle ด้วยเช่นกัน

Magical Girl Pretty Sammy (1995)
สำหรับ Magical Girl Pretty Sammy ก็เป็นการหยิบเอาตัวละครหลักจากเรื่อง Tenchi Muyo อย่าง ซาซามิ คาวาอิ มาเป็นตัวละครเอกของเรื่อง ซึ่งจากเรื่องต้นฉบับเธอมีชื่อจริงว่า ซาซามิ มาซากิ จูราอิ นอกจากนี้ก็ยังมีตัวละครตัวอื่นๆจาก Tenchi Muyo โผล่มาอีกเช่นกันในภาคOVA ซึ่งพล็อตเรื่องนั้น แทบจะลอกมาจากเซเลอร์มูนเลย ในแง่ของ บิโชโจ และ คอนเซปต์ "ผู้พิทักษ์ความยุติธรรม"

จุด เริ่มต้นของPretty Sammy ก็มาจาก voice drama ชุด Tenchi Muyo! Ryo-ohki CD Special 1 ต่อมาก็ถูกดัดแปลงเป็นอนิเมในตอนที่11-13ของTenchi Muyo จากนั้น voice drama ชุดสองที่ชื่อว่า Tenchi Muyo! Ryo-ohki's Christmas ซึ่งชุดนี้ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับพลังเวทย์ของPretty Sammy จนกระทั่งมิวสิควีดีโอของPretty Sammyซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของTenchi Muyo! Soundfile ก็กลายเป็นสัญญาณว่า Pretty Sammy เป็นอนิเมแล้ว

ซา ซามิ คาวาอิ ได้พบกับ สึนามิ ว่าที่ราชินีแห่งJuraihelm สึนามิขอร้องให้ซาซามินั้นทำหน้าที่เป็น "ผู้พิทักษ์ความยุติธรรม" พริตตี้ แซมมี่ เพื่อคอยกำจัดเหล่าคนชั่ว เธอมักถูก Pixy Misa จอมเวทย์สาวผู้ชั่วร้ายซึ่งถูก ราเมีย คู่แข่งผู้สืบทอดราชินีแห่งJuraihelm ส่งตัวมา ตามมารังควาญ ซึ่งจริงๆแล้ว Pixy Misa นั้นก็คือ มิซาโอะ อามาโนะ เพื่อนรักของเธอนั่นเอง และแซมมี่นั้นก็มีเรียวโอกิ คอยให้คำแนะนำเธอ โดยเธอนั้นก็มีทั้งเวทย์ที่ใช้ในการแปลงกาย และ ใช้ในการต่อสู้

Wedding Peach (1995)
ส่วนเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เรียกว่า ถอดแบบมาจากเซเลอร์มูนเหมือนๆกันเลย เคยลงในนิตยสาร Ciao ปี1994 – 1996 เรื่องราวของโมโมโกะ ฮานาซากิ นักเรียนสาวม.ปลายที่รู้ความจริงจาก อโฟรดิเต้ว่า เธอคือ นางฟ้าแห่งความรัก เวดดิ้ง พีช ซึ่งเธอนั้นจะต้องทำหน้าที่นี้ต่อจากคุณแม่ของเธอ เธอนั้นจะต้องคอยปกป้อง"ความรักอันศักดิ์สิทธิ์"ไม่ให้ Rain Devila และลูกสมุนนั้นมาทำลาย ร่วมกับสหายของเธอ คือ ยูริ ทานิมะ (Angel Lily), ฮินางิคุ ทามาโนะ (Angel Daisy)และ Scarlet O'Hara (Angel Salvia) โดยพวกเธอก็มี Jama-P อดีตสมุนของRain Devila คอยเป็นผู้แนะนำช่วยเหลือ

Cardcaptor Sakura (1996)
มาถึงหนึ่งในMahou Shojo ที่โด่งดังที่สุดในช่วงปลายยุค 90 เป็นผลงานของClampอีกเช่นกัน เคยลงในนิตยสาร นากาโยชิ ตั้งแต่ปี 1996-2000 ถูกนำไปทำเป็นอนิเมในปี 1998-2000 โดยสตูดิโอMadhouse รวมไปถึงฉบับภาพยนตร์อีก2 ภาค การมาของสาวน้อยซากุระ ก็เป็นจุดเริ่มต้นของสายพลัง L (Loli - เด็กผู้หญิงน่ารัก) รวมไปถึงแฝงสายพลังอื่นๆ โดยเฉพาะ Y

คิ โนโมโตะ ซากุระ สาวน้อยวัย 10 ขวบ ได้เปิดหนังสือรวบรวมการ์ดเวทมนตร์ "โคลว์ การ์ด" ออก ทำให้การ์ดทั้งหมดในหนังสือกระจายไปตามที่ต่างๆ เธอจึงต้องรับผิดชอบโดยการตามหาการ์ดที่หายไปทั้งหมด ด้วยพลังเวทมนตร์ เข้าต่อสู้กับการ์ดก่อนที่จะทำการเปลี่ยนให้การ์ดกลับคืนสู่สภาพเดิม โดยมีผู้ช่วยคือเคลเบรอส (เคโระจัง) ซึ่งจะคอยให้คำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับการ์ด และ วิธีการใช้การ์ดต่าง ๆ โดยเขาก็มอบกุญแจผนึกกับเธอเพื่อใช้ในการต่อสู้และจับการ์ด

Fancy Lala (1998)
หลังจากหายไปนานถึง 12 ปี ในที่สุด Studio Pierrot ก็กลับมาทำอนิเมแนวสาวน้อยเวทมนตร์อีกครั้ง โดยดัดแปลงจากผลงานการ์ตูนของ รูริกะ คาซึกะ ที่เคยลงในนิตยสาร Ribon อย่าง Fancy Lala ซึ่งเรื่องนี้นั้น นอกจากจะได้ อาเคมิ ทาคาดะ จาก Creamy Mami มาช่วยออกแบบตัวละครแล้ว พล็อตเรื่องหรือรายละเอียดต่างๆนั้น ก็คล้ายกับ Creamy Mami มาก จนทำเอาสับสน

มิ โฮะ ชิโนฮาระ สาวน้อยวัย 9 ขวบได้รับไดโนเสาร์จิ๋วสองตัวจากคนแปลกหน้าผู้หนึ่ง ปรากฏว่ามันเป็นไดโนเสาร์ที่พูดได้ พร้อมกับเอาปากกาและหนังสือสเก็ตช์ภาพวิเศษมาให้กับเธอ เธอจึงใช้มันวาดความฝันของเธอ ซึ่งทำให้เธอนั้นกลายเป็นสาววัยรุ่นคนงาม นาม "แฟนซี ลาล่า" จนถูก ยูมิ ฮาเนอิชิ เจ้าของบริษัทเอเจนซี่หาคนเข้าวงการบันเทิง สนใจเธอ และ เธอก็ก้าวเข้าสู่วงการมายาในที่สุด

Ojamajo Doremi (1999)
"แม่มดน้อยจอมยุ่ง โดเรมี" ในที่สุดก็มาถึงเหล่าแม่มดน้อยขวัญใจเด็กๆ ทั่วญี่ปุ่น รวมถึงประเทศไทยกันแล้ว เป็นผลงานการสร้างของโตเอะ อนิเมชั่น และเรื่องนี้ก็สร้างประวัติศาสตร์เป็นอนิเมแนวสาวน้อยเวทมนตร์ที่มีจำนวน ความยาวมากที่สุดถึง 201 ตอนด้วยกัน(ทำลายสถิติเดิมที่เซเลอร์มูนเคยทำไว้รวมกันทุกภาคคือ 200 ตอน) โดยแบ่งออกเป็น 4 ภาค (Ojamajo Doremi,Ojamajo Doremi #,Motto! Ojamajo Doremi , Ojamajo Doremi DOKKA~N)และ OVA อีก 13 ตอน ในชุด Ojamajo Doremi Na-i-sho และเนื้อหาของอนิเมเรื่องนี้นอกจากจะเน้นความเฮฮา น่ารัก สดใสร่าเริงแล้ว ก็ยังเน้นคติสอนใจในแง่ของมิตรภาพ ความรักของเพื่อนฝูง และ คนในครอบครัวอีกด้วย เรื่องนี้จึงเป็นอนิเมที่สามารถดูได้ทุกเพศทุกวัย จนคว้ารางวัลยอดเยี่ยมมาแล้วที่ญี่ปุ่น

เรื่อง ราวของแม่มดน้อยโดเรมีนั้นก็จะมีคอนเซปต์แตกต่างกันไปในแต่ละภาค เนื้อเรื่องในแต่ละตอนก็เป็นในลักษณะ การฝึกฝนเวทมนตร์ของสมาชิกแม่มดน้อยอย่าง ฮารุคาเสะ โดเรมี,ฟูจิวาระ ฮาซึกิ,เซโนะ ไอโกะ, เซงาว่า ออมปุ ,อาซึกะ โมโมโกะ,ฮานะจัง และ ฮารุคาเสะ ป็อป รวมถึงการนำพลังเวทมนตร์ไปใช้ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆให้ลงเอยไปได้ด้วยดี จุดเริ่มต้นของแม่มดน้อยโดเรมีคือ การที่พวกเธอได้เห็นตัว มาจอริก้า แม่มดตัวจริง จนทำให้มาจอริก้านั้นกลายเป็นลูกอ๊อด พวกเธอจึงต้องฝึกฝนเป็นแม่มดเพื่อแก้คำสาปให้กับมาจอริก้าให้ได้

Corrector Yui (1999)
เป็นสาวน้อยเวทมนตร์ที่อิงความทันสมัยในเรื่องราวของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เรื่องราวของสาวน้อย ยูอิ คาซึกะ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็นเลย ทั้งๆที่พ่อของเธอเป็นนักพัฒนาซอฟท์แวร์ วันหนึ่งยูอิโมโหที่ทำงานไม่เสร็จสักที เธอจึงทุบเครื่อง แต่แล้วเธอก็พบกับ I.R. 1 ในซอฟต์แวร์ทั้ง 8 ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ปิดผนึก กร๊อสเซอร์ ซอฟต์แวร์ตัวร้ายในโลกคอมเน็ต ที่ คิดจะครอบครองโลกมนุษย์ ยูอิจึงเข้าไปยังโลกคอมพิวเตอร์ เพื่อแปลงเป็น คอร์เรคเตอร์ยูอิ ออกตามหาซอฟต์แวร์ 7ตัวที่เหลือ เพื่อความสงบสุขของโลก

Pretear (2000)
เรื่องราวของเด็กสาว ฮิเมโนะ อาวายูกิ ที่หวังจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขหลังจากคุณแม่ของเธอนั้นจากไป วันหนึ่งเธอพบกับฮายาเตะ อัศวินแห่งลม เขาบอกว่า เจ้าหญิงทาคาโกะ ถูกลักพาตัวโดยปีศาจมาที่เมืองที่ฮิเมโนะอยู่ โดยให้พลังเวทย์แก่เธอเพื่อช่วยให้เธอกลายเป็น พรีเทียร์ ร่วมต่อสู้กับปีศาจร่วมกับเหล่าอัศวินทั้ง7แห่ง Leafe

Tokyo Mew Mew (2002)
เป็น Mahou Shojo อีกเรื่องที่ดูแล้วคล้ายๆกับเซเลอร์มูน แถมเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่อุดมไปด้วยสายพลังการ์ตูนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น L,M(Megane-สาวแว่น) และสิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้ในเรื่องนี้ นั่นคือ สายพลัง N (Neko - แมว)

เรื่อง ราวต่างๆเริ่มต้นขึ้นจาก โมโมมิยะ อิจิโกะ ที่กำลังจะออกเดทกับ มาซายะ อาโอยาม่า แฟนหนุ่ม ก็ได้เกิดเรื่องประหลาดขึ้น เพราะ เธอได้รับDNAของแมวป่ามาโดยบังเอิญ จึงทำให้เธอมีพลังราวกับแมวป่า รวมถึงติดพฤติกรรมนิสัยแมว เลยทีเดียว และกลายมาเป็นสมาชิกของ"Mew Project" และต้องรักษาความลับด้วยการทำงานอยู่ที่ร้านกาแฟ โดยพวกเธอทั้ง5 (อิจิโกะ, มินโตะ, เรเท็ตสึ, ปุริริน, ซาคุโระ)ก็ต้องพิทักษ์โลกให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของ ไคนีม่า แอนิม่อล

Sugar Sugar Rune(2003)
"แม่มดสาวหัวใจกุ๊กกิ๊ก" เรื่องนี้ก็เป็นผลงานสร้างชื่อของ อ.อันโนะ โมโยโกะ ศรีภรรยาของ อันโนะ ฮิเดอากิ ผู้กำกับเอวานเกเลี่ยน เคยลงในนิตยสารนากาโยชิช่วงปี 2003-2007 ดัดแปลงป็นอนิเมปี 2005-2006 จุดเด่นของอนิเมสาวน้อยเวทมนตร์เรื่องนี้ก็ได้กลิ่นอายการใส่สีแบบอนิเมชั่น ตะวันตก แถมชื่อตัวละครก็ดัดแปลงมาจากชื่อและส่วนผสมของขนมหวาน โดยมีสองสาวจากโลกเวทมนตร์นาม ช็อคโกล่า และ วานิลา เป็นตัวเดินเรื่อง

ช็อคโก ล่า และ วานิลา สาวน้อยทั้งสอง เป็นผู้ถูกเลือกให้เป็นราชินีคนต่อไปของโลกเวทมนตร์ ถึงจะเป็นคู่แข่งกันแต่พวกเธอก็ยังเป็นเพื่อนรักกันเสมอ โดยการแข่งขันครั้งก่อนแม่ของวานิลาได้เป็นราชินี ช็อคโกล่าเลยหมายมั่นปั้นมือว่าจะเอาชนะให้ได้ ซึ่งโจทย์ของพวกเธอก็คือ จะต้องปลอมตัวเป็นมนุษย์และรวบรวมดวงใจของมนุษย์โลก ใครเก็บได้มากกว่าก็จะได้เป็นราชินีแห่งโลกเวทมนตร์ ซึ่งวิธีการนั้น จะต้องทำให้เขารักเรา แล้วค่อยร่ายคาถาเรียกดวงใจมา แต่มีเงื่อนไขสำคัญคือ ห้ามแม่มดตกหลุมรักมนุษย์ซะเอง มิฉะนั้นอาจถึงตายได้

Mermaid Melody Pichi Pichi Pitch (2003)
"เจ้าหญิงนางเงือก"เป็นอนิเมที่ดัดแปลงมาจากนิทานเรื่อง "Little Mermaid" ผลงานการประพันธ์ของ Hans Christian Andersen ซึ่งว่าด้วยนางเงือกสาวผู้ตกหลุมรักชายหนุ่มรูปงาม ถึงขั้นแปลงร่างเป็นมนุษย์เพื่อเอาชนะใจเขาให้ได้นั้น มารวมกับพล็อตของหนังคลาสสิคปี1954 เรื่องThree Coins in the Fountain ซึ่งว่าด้วยหญิงสาวสามคนมาตามหารักที่กรุงโรม สำหรับเรื่องนี้ก็เช่นกัน เป็นเรื่องราวของเจ้าหญิงนางเงือกทั้งสามตนตัดสินใจขึ้นบกมาเรียนรู้ชีวิตบน โลกมนุษย์ อีกทั้งยังเป็นอนิเมสาวน้อยเวทมนตร์ที่แหวกแนวก็ตรงที่ พวกเธอนั้นใช้เสียงเพลงที่พวกเธอขับร้องนั้นไปกำราบเหล่ามาร

เรื่องราวเริ่มต้นที่ ลูเซีย หนึ่งในเจ้าหญิงนางเงือกตัดสินใจขึ้นบกเพื่อตามหา ไคโตะ โดโมโตะ ชายหนุ่มผู้ที่เธอเคยช่วยชีวิตเขาเอาไว้ เธอในร่างมนุษย์ที่ชื่อว่า ลูเซีย นานามิ ก็ได้พบกับไคโตะอีกครั้ง แต่เธอกลับไม่ยอมบอกความจริงเรื่องที่เธอเป็นนางเงือกให้ไคโตะได้รู้ นอกจากจะต้องคอยสู้เพื่อเอาชนะใจในด้านความรักแล้ว เธอและสหายเงือกของเธอยังต้องคอยต่อสู้กับเหล่าปีศาจที่บุกเข้ามายังโลกท้อง ทะเลอีกด้วย โดยการใช้ไข่มุกแปลงร่างจากเงือกน้อยเป็นนักร้องสาวไอด้อล และใช้เสียงร้องของพวกเธอนั้นเป็นอาวุธ

Futari wa Pretty Cure (2004)
"มหัศจรรย์สาวน้อยพริตตี้เคียว" เป็ผลงานอีกเรื่องหนึ่งของ โตเอะ อนิเมชั่น ที่ปัจจุบันยังคงทำกำไรจากการขายของเล่นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันทำออกมาทั้งหมด 4 ภาคคือ Pretty Cure,Pretty Cure Max Heart,Pretty Cure Splash Star และ Yes! Precure 5 ส่วนคอนเซปต์นั้นก็ยังคงเป็นการ์ตูนแนวสาวน้อยเวทมนตร์ปราบปีศาจนอกโลกเช่น เคย

สำหรับ สองภาคแรกนั้น ก็ให้ สองสาวที่นิสัยต่างกันสุดขั้วและไม่รู้จักกันมาก่อนอย่าง มิสุมิ นางิสะ กับ ยูกิชิโร่ โฮโนกะ เป็นตัวเอกของเรื่อง ทั้งสองก็ได้รับรู้เรื่องที่ปีศาจร้าย Dusk Zone จะมาทำลายโลกมนุษย์จากมนุษย์ต่างดาวน่ารักๆ นาม มิปเปิ้ล และ เมปเปิ้ล ทั้งสองจะใช้โทรศัพท์มือถือ ในการแปลงร่างเป็น เคียวแบล็ก และ เคียวไวท์ และต่อสู้ในนามของ พริตตี้เคียว เพื่อปกป้องโลกใช้รอดจากเงื้อมมือของเหล่าร้าย โดยทั้งสองก็จะใช้ท่าคอมโบคู่ อย่างเช่น Black Thunder! White Thunder! Pretty Cure Marble Screw (ภาคสอง จะมีคำว่า Max ต่อท้าย) ปล่อยพลังสายฟ้าปราบศัตรูลงได้ทุกตอน และในภาคสองนั้นก็มี คุโจ ฮิคาริ หรือ ชายนิ่ง ลูมินัส มาต่อสู้ร่วมกับเคียวแบล็ก และ เคียวไวท์ ด้วย

สำหรับภาค Splash Star นั้น จะมีการเปลี่ยนตัวเอกไปเป็น ซาคิ ฮิวงะ(เคียวบลูม) กับ ไม มิโช(เคียว อิเกรท) แทน

ใน ภาค Yes! Precure 5 ก็เพิ่มสมาชิกเป็น 5 คน จนกลายสภาพคล้ายๆกับขบวนการเซ็นไท เช่นเดียวกับเซเลอร์มูน ประกอบด้วย ยูเมฮาระ โนโซมิ(เคียวดรีม),นัตซึกิ ริน(เคียวรูจ),คาสึงาโนะ อุราร่า(เคียวเลมอนเนด),อากิโมโต้ โคมาจิ(เคียวมินท์) และ มินาซึกิ คาเรน(เคียวอควา) พร้อมกับผู้ช่วยคอยให้คำแนะนำซึ่งเป็นตัวประหลาดจากPalmier Kingdom นาม โกโก้ และ นัทส์

Magical Girl Lyrical Nanoha (2004)
Magical Girl Lyrical Nanoha จัดว่าเป็นอนิเมแนวสาวน้อยเวทมนตร์ที่ฮิตที่สุดในขณะนี้ อีกทั้งยังฉีกไปจากการ์ตูนสาวน้อยเวทมนตร์เรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอาวุธยุทโธปกรณ์ของสาวน้อยจอมเวทย์มีความไฮเท็ค รุนแรงมากขึ้น ตัวละครได้โชว์ฝีมือในการต่อสู้มากกว่าเรื่องก่อนๆ เน้นเนื้อหาให้มีความเข้มข้น ดราม่ามากขึ้น เพื่อกลุ่มคนดูในช่วงวัยรุ่นถึงผู้ใหญ่ หรือจะสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างแนวคิดของแต่ละคน จนเป็นสาเหตุที่ต้องต่อสู้กัน

สำหรับ Magical Girl Lyrical Nanoha นั้น ก็เป็นอนิเมที่มีเนื้อหาแยกออกมาจากเกม และ OVA เรื่องดัง Triangle Heart โดยมีการดัดแปลงคาแรคเตอร์กับเนื้อหาบางส่วน ออกฉายภาคแรกในปี 2004 จำนวน 13 ตอน และก็ได้รับความนิยมอย่างมาก จนต้องสร้างภาคอื่นตามมา คือ Magical Girl Lyrical Nanoha A's (2005)และ Magical Girl Lyrical Nanoha Strikers (2007) ซึ่งแต่ละภาคนั้นก็มีเนื้อหาที่ต่อเนื่อง จากสองภาคแรก ตัวละครหลักยังเป็นเด็ก พอมาถึงภาคStrikers บรรดาตัวละครก็โตเป็นหนุ่มเป็นสาวกันหมดแล้ว

ทา คามาจิ นาโนฮะ สาวน้อยป.3 ได้พบกับ ยูโน่ จอมเวทย์จากโลกต่างมิติที่กำลังบาดเจ็บหนักขณะที่เขากำลังตามหา Jewel Seed อัญมณีหายากในโลกต่างมิติ มีอำนาจพิเศษในการประทานพรต่างๆให้เป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายมากหากมีคนให้มันในทางที่ผิด และเขานั้นก็ได้ค้นพบพลังเวทย์ในตัวนาโนฮะ และ นาโนฮะก็ยอมช่วยเหลือยูโน่ในการเก็บ Jewel Seed และใช้พลังเวทย์ที่เธอมีนั้นปกป้องผู้คน และเธอนั้นก็มี Raising Heart เป็นอาวุธเวทย์ประจำตัว นอกจากนี้ในช่วงแรกๆของเรื่อง นาโนฮะยังต้องต่อสู้กับ เฟท เทสทารอสซ่า ที่หวังจะเก็บ Jewel Seed ด้วยเช่นกัน แต่พอเฟทรู้เรื่องราวความจริงทั้งหมด เธอจึงเป็นมิตรกับนาโนฮะนับแต่นั้น......

Demashita! Powerpuff Girls Z (2006)
ดูจากชื่อเรื่องก็น่าจะเดากันออกว่า เรื่องนี้นั้นก็เป็นการนำตัวละครจาก Powerpuff Girls มาดัดแปลงใหม่ในสไตล์ของการ์ตูนญี่ปุ่น แต่ยังคงเอกลักษณ์ของสามสาว Blossom,Buttercup,Bubbles เช่นเดิม เป็นอนิเมที่ร่วมกันผลิตโดย Cartoon Network, Toei Animation และ Aniplex โดยขั้นตอนการผลิตนั้นอยู่ที่ญี่ปุ่น โดยที่ Craig McCracken ผู้ให้กำเนิด Powerpuff Girls นั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ

เรื่อง ราวก็เริ่มต้นจากการที่อุณหภูมิของโลกแปรปรวนอย่างหนัก เพื่อหยุดปรากฏการณ์นี้ เคน คิตาซาว่า จึงใช้ Chemical Z ทำลายธารน้ำแข็งยักษ์ แต่กลับมีผลทำให้เกิดแสงดำขาวทั่วท้องฟ้ากรุงโตเกียว ซึ่งเด็กสาวทั้งสามคน ประกอบไปด้วย โมโมโกะ,มิยาโกะ และ คาโอรุ นั้น ก็โดนแสงสีขาวเข้าไป จนกลายเป็นฮีโร่สาวผู้ผดุงความยุติธรรมแห่งกรุงโตเกียว "Powerpuff Girls Z" ทั้ง Hyper Blossom (โมโมโกะ), Rolling Bubbles (มิยาโกะ), และ Powered Buttercup (คาโอรุ)จะต้องคอยปราบเหล่าปีศาจซึ่งเกิดมาจากมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตที่ถูก ลำแสงสีดำเข้าไป


kartoon-discovery.com
Sep 2007

อ้างอิงจาก



from : http://www.kartoon-discovery.com/topic/topic200709.html

ประวัติความเป็นมาของการ์ตูน

ที่มาของการ์ตูน
การ์ตูน ที่เราๆท่านๆอ่านกันทุกวันนี้นั้น หากย้อนกลับไป ก็คงจะเริ่มต้นที่ยุโรป ประมาณคริสต์ศตวรรษที่13 ช่วงเรเนซองต์ ซึ่งการ์ตูนนั้นก็มีรากศัพท์มาจากภาษาอิตาเลี่ยน catone ซึ่งแปลว่า กระดาษผืนใหญ่ และ ในสมัยนั้นก็ยังเป็นงานศิลปะแบบเฟรสโก้
(เป็นงานภาพพวกสีน้ำมัน) โดยเฉพาะผลงานของ ลีโอนาร์โด้ ดาวินซี่ และ ราฟาเอลนั้นจะมีราคาสูงมาก

และ จากนั้น การ์ตูนของแต่ละชาติและแต่ละพื้นที่ก็มีการพัฒนาแตกต่างกันไป จนเป็นสิ่งที่เราเห็นกัน ก็คือ มีการเดินเรื่องกันเป็นช่องสี่เหลี่ยม และมีการใส่คำพูดของ ตัวการ์ตูนในแต่ละช่องด้วย หรือเรียกกันว่า คอมิค

การ์ตูนฝรั่ง
โดยเริ่มต้น ที่ ยุโรป สมัยคริสศตวรรษที่18 โดยมีการค้นพบ ภาพร่างของการ์ตูนของWilliam Hogarth นักวาดการ์ตูนชาวอังกฤษ ในปี 1843 นิตยสารPunch ก็ได้ลงการ์ตูนล้อเลียนการเมืองของJohn Leech และถือว่า เป็นการ์ตูนเรื่องแรกที่ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสืออย่างเป็นทางการอีกด้วย
ซึ่งในช่วงนั้นเองการ์ตูนเสียดสีทางการเมืองเป็นที่นิยมมากในอังกฤษอีกด้วย และจากจุดเริ่มต้นนี้เอง ก็ทำให้ประเทศอื่นๆอย่าง เยอร์มัน จีน ก็เริ่มตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนลงในสื่อต่างๆด้วย

ในปี 1884 Ally Sloper's Half Holiday ก็เป็นนิตยสารการ์ตูนเรื่องแรกที่ถูกตีพิมพ์อีกด้วย
ในคริสต์ศตวรรษที่20 งานการ์ตูนก็เริ่มมีความแตกต่างจากนิยายภาพเรื่อยๆ ช่วงต้นศตวรรษที่20 ในสหรัฐฯ ก็มีการตีพิมพ์การ์ตูนลงในหนังสือพิมพ์ และรวมเล่มซึ่งจะเน้นแนวขำขันเป็นหลัก


ในปี1929 ติน ติน ผจญภัย การ์ตูนแนวผจญภัยก็ได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ของเบลเยี่ยม ซึ่งตีพิมพ์ลงสีขาวดำในขณะนั้น
ส่วนการ์ตูนภาพสีนั้น ก็เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกที่สหรัฐ และ The Funnies ก็จัดว่าเป็นการ์ตูนภาพสีเรื่องแรกอีกด้วย


ช่วงสงครามโลกครั้งที่2นั้น คนทั่วโลกก็ปั่นป่วน สังคมก็เริ่มมีปัญหา ซึ่งทำให้มีผลต่องานการ์ตูนในยุคนั้นก็คือ จะเน้นแนวซุปเปอร์ฮีโร่ อย่างซุปเปอร์แมน เป็นต้น
และในปัจจุบันนั้น การ์ตูนฝรั่งก็เริ่มที่จะมีหลากหลายแนวมากขึ้น เนื้อเรื่องมีมิติมากขึ้น รวมไปถึงเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น และมีการให้ทุนการศึกษาในการพัฒนาด้านการ์ตูนอีกด้วยในปี 1980


ติน ติน ผจญภัย
Ally Sloper's Half Holiday ปี1884




การ์ตูนญี่ปุ่น
ส่วนพัฒนาการของการ์ตูนญี่ปุ่นนั้น ก็เริ่มมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่2 มังงะ(manga) เริ่มพัฒนาให้ทันสมัยและเป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่ง มังงะนั้น ก็เป็นการนำ อุกิโยเอะ (ภาพเขียนแบบญี่ปุ่น ซึ่งจะเน้นความคิดและอารมณ์มากกว่าลายเส้นและรูปร่าง) กับการเขียนภาพแบบตะวันตกมารวมกัน ซึ่งคำว่ามังงะ นั้นก็แปลตรงๆว่า ความไม่แน่นอน ซึ่งเริ่มต้นจากหนังสือโฮคุไซ มังงะ ส่วนอีกเล่มหนึ่งก็คือ งิงะ ซึ่งเป็นภาพล้อเลียนจากศิลปิน12ท่าน ซึ่งดูแล้วจะใกล้เคียงกับมังงะมากที่สุด


ภาพอุกิโยเอะ
จุด เริ่มต้นของการพัฒนานั้นก็มาจากการค้าขายระหว่างสหรัฐฯและญี่ปุ่น ญี่ปุ่นในขณะนั้นต้องการที่จะพัฒนาไปสู่สังคมใหม่ ก็เลยมีการจ้างศิลปินชาวตะวันตกให้เข้ามาสอนศิลปะ สไตล์ตะวันตกทั้งด้านลายเส้น สี หรือ รูปร่าง ซึ่งเป็นส่วนที่ภาพอุกิโยเอะไม่มีนั้นมารวมกัน เป็น มังงะหรือ การ์ตูนญี่ปุ่นในปัจจุบัน และการ์ตูนญี่ปุ่น ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น หลังจากที่รัฐบาลสั่งยกเลิก การคว่ำบาตรสื่อต่างๆ ซึ่งมังงะในยุคแรกๆนั้น จะออกไปทางนิยายภาพมากกว่า หลังจากนั้น เท็ตซึกะ โอซามุ
ก็เป็นผู้ที่พัฒนาการ์ตูนแบบญี่ปุ่นให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น และเป็นอย่างที่เราเห็นกันในทุกวันนี้ จนได้รับการขนานนามว่า ปรมาจารย์แห่งการ์ตูนญี่ปุ่น และนักเขียนการ์ตูนยุคหลังๆก็ได้พัฒนาแนวคิดของ เนื้อเรื่องไป สร้างสรร จนได้การ์ตูนเรื่องสนุกที่หลายคนชื่นชอบกัน และความนิยมของการ์ตูนญี่ปุ่นก็แพร่กระจายความนิยมไปยัง เอเชีย ยุโรป รวมถึงอเมริกา และมีผลทำให้การ์ตูนเรื่องใหม่ๆทางฝั่งตะวันตกก็ได้รับอิทธิพลมาจากการ์ตูน ญี่ปุ่นด้วย(อย่างเช่น เรื่อง Witch เป็นต้น)

การ์ตูนไทย
ส่วนพัฒนาการของการ์ตูนไทยนั้น ก็เริ่มมาจากงานภาพวาดบนกำแพงตามวัดต่างๆ หลังจากที่ไทยเรา เริ่มพัฒนาประเทศให้เข้ากับวัฒนกรรมตะวันตกนั้นเอง การ์ตูนไทยก็เริ่มมีบทบาทที่เป็นรูปภาพประกอบเนื้อเรื่องในนิยาย หรือเรียกอีกอย่างก็คือ นิยายภาพ โดยเฉพาะการ์ตูนการเมือง
ในปีพ.ศ.2500 ถือเป็นยุคเฟื่องฟูของหนังสือการ์ตูนไทย มีการตีพิมพ์รวมเล่มจากหนังสือพิมพ์ และ วารสาร โดยมี เหม เวชกร และ จุก เบี้ยวสกุล เป็นนักเขียนที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้น หลังจากนั้นก็มีการตีพิมพ์เป็นการ์ตูนเล่มละบาท ซึ่งเป็นแนวสยองขวัญ ตามด้วย การ์ตูนแก๊กเน้นตลก อย่าง ขายหัวเราะ มหาสนุก หนูจ๋า และ เบบี้ ที่ยังคงขายดีจนถึงปัจจุบัน
ส่วนการ์ตูนไทยตามแบบสไตล์การ์ตูนญี่ปุ่นนั้น ก็เพิ่งจะตื่นตัวไปไม่กี่สิบปี โดยจุดเริ่มต้น มาจากนิตยสารไทยคอมิค ของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และจากจุดนี้นี่เองก็ทำให้การ์ตูนไทยที่ทำท่าจะผีเข้าผีออกก็เริ่มเป็นที่ ยอมรับของคนอ่านมากขึ้น ในสไตล์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การ์ตูนแปลงจากวรรณคดี บุคคลสำคัญ ,Joe-theSeacret Agent ,มีด13,การ์ตูนเสนอมุมมองใหม่ๆอย่าง HeSheIt, นายหัวแตงโม รวมไปถึง การ์ตูนดัดแปลงจากพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกและคุณทองแดง



จุก เบี้ยวสกุล
He She It

ที่มาของการ์ตูนอนิเมชั่น
อนิเมชั่น ก็มีความหมายที่แปลได้โดยตรงคือ ความมีชีวิตชีวา มาจากรากศัพท์จากคำว่า anima ซึ่งแปลว่าจิตวิญญาณ หรือมีชีวิต แต่ต่อมา อนิเมชั่นก็มีความหมายตามที่เราๆท่านๆเข้าใจกันในปัจจุบันนี้ ก็คือ การสร้างภาพเคลื่อนไหวได้ หรือ ภาพการ์ตูนที่เคลื่อนไหวได้ ส่วนอนิเมชั่นในความหมายเชิงภาพยนตร์ก็คือ กระบวนการการฉายรูปเฟรมภาพออกมาทีละเฟรม หรือสร้างด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิค หรือ ทำด้วยการวาดมือ และทำซ้ำการเคลื่อนไหวทีละน้อยๆซึ่งจะแสดงทีละภาพในอัตราความเร็ว มากกว่าหรือเท่ากับ16ภาพ ต่อ 1 วินาที(ปัจจุบัน 24เฟรม ต่อ 1 วินาที --NTSC) ส่วน อนิเม ก็เป็นคำอีกคำหนึ่งที่ใช้กันบ่อยๆนั้น ก็เป็นคำที่ ญี่ปุ่น เรียกอนิเมชั่นกันแบบย่อๆ(ถ้าสังเกตกันจริง ญี่ปุ่นจะเป็นชาติที่เรียกคำย่อได้ไม่เหมือนใครเลย อย่าง PC ก็เรียก ปาโซคอม ซะงั้น) แต่ต่างกับอนิเมชั่นของฝรั่ง เพราะ อนิเมชั่นจะเน้นการเล่าเรื่องมากกว่าภาพเคลื่อนไหว ความเป็นมาของอนิเมชั่นในแต่ละพื้นที่ของโลกก็มีพัฒนาการที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งแต่ละท้องที่มีพัฒนาการดังนี้

อนิเมชั่นฝรั่ง
อนิเมชั่นแต่ละเรื่องในยุคแรกๆนั้นจะดัดแปลงจากภาพยนตร์เงียบ ที่ยุโรปในปี 1908 อนิเมชั่นก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในโลก นั่นก็คือเรื่อง Fantasmagorie ของ Emile Courtet ผู้กำกับชาวฝรั่งเศส ส่วนภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องยาวเรื่องแรกของโลก นั่นก็คือ Satire du Pt Irigoyen ของอาร์เจนติน่า ในปี1917 และตามด้วย The Adventure of Prince Achmed

ในขณะเดียวกัน ที่สหรัฐฯ ก็มีการเริ่มต้นพัฒนาด้านอนิเมชั่นซึ่งหนังในช่วงแรกๆก็มี Koko the Clown และ Felix the Cat ในปี 1923 วอล์ท ดิสนี่ย์ ก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย



Fantasia
หลัง จากที่วอล์ท ดิสนี่ย์ได้กำเนิดขึ้น ก็ทำให้เกิดยุคทองหนังอนิเมชั่นของดิสนี่ย์ในช่วงระยะเวลาถึง20ปีเลยทีเดียว ในปี1928 มิกกี้ เมาส์ก็ถือกำเนิดขึ้น ตามด้วย พลูโต กู๊ฟฟี่ โดนัลด์ ดั๊ก เป็นต้น และในปี 1937 สโนว์ไวท์และคนแคระทั้ง7 ก็เป็นอนิเมชั่นเรื่องยาวเรื่องแรกของ ดิสนี่ย์ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และทยอยมีอนิเมชั่นเรื่องอื่นๆตามมา เช่น Pinocchio, Fantasia ,Dumbo, Bambi ,Alice in Wonderland, Peter Pan จากนั้นก็มีการตั้งสตูดิโอของ Warner Brother,MGM และ UPA
ในช่วงปี1960 หลังจากที่ภาพยนตร์อนิเมชั่นประสบความสำเร็จ ก็ก่อให้เกิดธุรกิจอนิเมชั่นบนจอโทรทัศน์ขึ้นมา ซึ่งมีทั้งการ์ตูนของดิสนี่ย์ และการ์ตูนพวกฮีโร่ทั้งหลายแหล่อย่าง ซุปเปอร์แมน แบทแมน ฯลฯ และในขณะเดียวกัน ก็มีการศึกษาการทำอนิเมชั่น3มิติอีกด้วย
เวลา ก็ได้ล่วงมาถึง ช่วงปี 1980 ภาพยนต์ของดิสนี่ย์ก็ถึงคราวซบเซา แต่ทว่าในปี 1986 The Great Mouse Detective ก็เป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกของโลก ที่นำเอา 3D อนิเมชั่นมาใช้ด้วย ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อนิเมชั่นของดิสนี่ย์กลับมา ได้รับความนิยมใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้ง Beauty and the Beast,Aladin ,Lion King ในปี1995 ภาพยนตร์อนิเมชั่น3มิติเรื่องแรกของโลก อย่าง Toy Story ก็ถือกำเนิดขึ้น และ ทำให้มีการสร้างสรรงานอนิเมชั่น3มิติอีกหลายๆงานต่อมาจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึง มีการทำอนิเมชั่นเพื่อจับกลุ่มคนดูที่เป็นผู้ใหญ่ด้วย อย่างเช่น The Simpsons ,South Park และมีการยอมรับอนิเมชั่นจากประเทศอื่นๆมากขึ้นอีกด้วย

อนิเมชั่นญี่ปุ่น
ส่วนที่ญี่ปุ่นนั้น การพัฒนาอนิเมชั่นนั้น ก็มีประวัติศาสตร์มายาวนาน สันนิษฐานว่า น่าจะเริ่มต้นประมาณปี 1900 บนฟิลม์ขนาด35มม. เป็นอนิเมชั่นสั้นๆเกี่ยวกับทหารเรือหนุ่มกำลังแสดงความเคารพ และใช้ทั้งหมด 50 เฟรมเลย ส่วน เจ้าหญิงหิมะขาว ก็เป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกของทางญี่ปุ่น ก็สร้างในปี 1917
จนมาถึงปี 1958 อนิเมชั่นเรื่อง นางพญางูขาว(Hakujaden) ก็เป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกที่เข้าฉายในโรง และจากจุดนั้นเอง อนิเมชั่นญี่ปุ่นก็มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจาก



นางพญางูขาว(Hakujaden)

-ปี1962 Manga Calender เป็นอนิเมชั่นทางทีวีเรื่องแรกของญี่ปุ่น
-ปี1963 เจ้าหนูปรมาณู(Astro Boy) ก็เป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกที่ดัดแปลงมาจากมังงะ(หนังสือการ์ตูน)โดยตรง แถมเป็นอนิเมชั่นสีเรื่องแรก และเป็นเรื่องแรกที่ออกไปฉายในอเมริกา
-ปี1966 แม่มดน้อยแซลลี่(Mahoutsukai Sally)ก็เป็นการ์ตูนอนิเมชั่นสำหรับเด็กผู้หญิงเรื่องแรกด้วย
-ปี1967 Ribon no Kishi ก็เป็นอนิเมชั่น เรื่องแรกที่ดัดแปลงมาจากการ์ตูนผู้หญิง (แถมต้นฉบับก็เป็นหนังสือการ์ตูนเด็กผู้หญิงเรื่องแรกของญี่ปุ่นด้วย)
-1001 Night ก็จัดว่าเป็นการ์ตูนเรื่องแรกที่เจาะกลุ่มคนดูเป็นผู้ใหญ่ ในปี 1969
-ปี1972 Mazinga ก็เป็นจุดกำเนิดของการ์ตูนแนวSuper Robot
-ปี1975 Uchuu Senkan Yamato ก็เปิดศักราชหนังการ์ตูนยุคอวกาศ จนมาถึง Mobile Suit Gundam ในปีเดียวกัน
-ปี1981 ถือกำเนิด ไอด้อลครั้งแรกในวงการการ์ตูน นั่นก็คือ ลามู จาก Urusei Yatsura
- อากิระ ในปี 1988 สร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการอนิเมชั่นทั่วโลก
-จนในปี 1995 ญี่ปุ่นกับอเมริกาก็ร่วมมือกันสร้าง Ghost in the Shell ขึ้น และมีอิทธิพลต่อการสร้างหนัง The Matrix ด้วย
-ในปี1997 ฮายาโอะ มิยาซากิ ก็นำ Princess Mononoke ก้าวไปสู่ระดับอินเตอร์ จนปี2003 ก็คว้ารางวัลออสการ์ครั้งที่75 สาขาอนิเมชั่นยอดเยี่ยม จากเรื่อง Spirited Away รวมไปถึง Dragonball ของ อากิระ โทริยามะ ก็สร้างความนิยมไปทั่วโลกอีกด้วย


Ribbon no Kishi

อนิเมชั่นไทย
พูดถึงอนิเมชั่นตะวันตกและญี่ปุ่นกันไปแล้ว ขอพูดถึงพัฒนาการของอนิเมชั่นในเมืองไทยด้วยก็แล้วกัน โดยอนิเมชั่นในบ้านเรานั้น ก็เริ่มต้นเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ตัวการ์ตูนอนิเมชั่นจะพบได้ในโฆษณาทีวี เช่น หนูหล่อของยาหม่องบริบูรณ์ปาล์ม ของ อ.สรรพสิริ วิริยสิริ ซึ่งเป็นผู้สร้างอนิเมชั่นคนแรกของไทย และยังมีหมีน้อย จากนมตราหมี แม่มดกับสโนว์ไวท์ของแป้งน้ำควินน่าอีกด้วย
อ.เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน ก็มีความคิดที่จะสร้างอนิเมชั่นเรื่องแรกในไทย แต่ก็ต้องล้มไปเพราะกฎหมายควบคุมสื่อในสมัยนั้น และ10ปีต่อมา ปี พ.ศ. 2498 อ.ปยุต เงากระจ่าง ก็ทำสำเร็จจนได้จากเรื่อง เหตุมหัศจรรย์ที่ใช้ประกอบภาพยนตร์ ทุรบุรุษทุย ของ ส.อาสนจินดา หลังจากนั้นก็มีโครงการอนิเมชั่น หนุมาน การ์ตูนต่อต้านคอมมิวนิสต์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาแต่ก็ล้มเหลว เพราะเหมือนจะไปเสียดสี จอมพล สฤษดิ์ ธนรัตน์ ผู้นำในสมัยนั้นซึ่งเกิดปีวอก
ปี พ.ศ. 2522 สุดสาครของ อ.ปยุต เงากระจ่าง ก็เป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเรื่องแรกของบ้านเรา และก็ประสบความสำเร็จมากพอสมควรในยุคนั้น ปีพ.ศ.2526 ก็มีอนิเมชั่นทางทีวีเรื่องแรกที่เป็นฝีมือคนไทยนั่นก็คือ ผีเสือแสนรัก ต่อจากนั้นก็มี เด็กชายคำแพง หนูน้อยเนรมิต เทพธิดาตะวัน จ่ากับโจ้ เนื่องจากการทำอนิเมชั่นนั้นต้องใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง ก็เลยทำให้อนิเมชั่นในเมืองไทยนั้นต้องปิดตัวลง

ประมาณ ปี2542 อนิเมชั่นของคนไทยที่ทำท่าว่าจะตายไปแล้ว ก็กลับมาฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง จากความพยายามของบ.บรอสคาสต์ไทย เทเลวิชั่น ก็ได้นำการ์ตูนที่ดัดแปลงจากวรรณคดีฝีมือคนไทย ทั้ง ปลาบู่ทอง สังข์ทอง เงาะป่า และโลกนิทาน และได้รับการตอบรับอย่างดี จนในปีพ.ศ. 2545 น่าจะเรียกว่าเป็นปีทองของอนิเมชั่น3มิติของคนไทยเลย โดยเฉพาะ ปังปอนด์ ดิ อนิเมชั่น และ สุดสาคร ซึ่งทั้ง2เรื่องก็สร้างปรากฏการณ์ในแง่ของการขายคาแร็คเตอร์ใช้ประกอบสินค้า และ เพลงประกอบ จ้ามะจ๊ะ ทิงจา ก็ฮิตติดหูด้วย รวมไปถึง การที่มีบริษัทรับจ้างทำอนิเมชั่นของญี่ปุ่นและอเมริกาหลายๆเรื่องอีกด้วย และเราก็กำลังจะมี ก้านกล้วย อนิเมชั่นของบ.กันตนา ที่กำลังจะเข้าฉายไปทั่วโลก ซึ่งเราก็หวังว่า อนิเมชั่นฝีมือคนไทย คงที่จะมีหลายเรื่อง หลากหลายแนวมากขึ้น ไม่แพ้อนิเมชั่นของฝั่งญี่ปุ่นและตะวันตกเลยทีเดียว

ปังปอนด์ ดิ อนิเมชั่น

from : http://www.kartoon-discovery.com/history/history1.html#arc1
อ้างอิงจาก http://en.wikipedia.org
คอลัมน์ Legend of Animation จาก นิตยสาร @nime ฉบับที่1
"การ์ตูนไทยสายพันธุ์ใหม่" ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 11/5/47


เปิดกรุ.....ความเป็นมาของการ์ตูนลิขสิทธิ์ในประเทศไทย

ในสมัยเด็กๆ หลายคน โดยเฉพาะกับ คนวัย 20 กว่าๆ ก็คงเคยสัมผัสกับ การ์ตูนดังหลากหลายเรื่อง ที่วางขายกันเกลื่อน โดยส่วนใหญ่นั้นก็จะเป็นการ์ตูนแนวต่อสู้ ยุคไอ้มดแดง เซ็นไทกำลังเฟื่องฟู การ์ตูนผู้หญิงตาหวาน หรือจะเป็นการ์ตูนดังที่ฉายทางโทรทัศน์อย่าง โดราเอม่อน ,ดราก้อนบอล ,เซนต์ เซย่า ,หมัดเทพเจ้าดาวเหนือ ,โรงเรียนลูกผู้ชาย ฯลฯ โดยในสมัยนั้น ก็เป็นยุคของการ์ตูนไม่มีลิขสิทธิ์ คือ ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูนเรื่องไหน ก็ทำอยู่หลายเจ้า (โดยเฉพาะ ดราก้อนบอล เนี่ยล่ะ ที่นิยมมากที่สุด )แถมราคานั้นก็แสนถูก ราคาต่ำสุด คือ 5-10 บาทเท่านั้น

และย้อนหลังกลับไปเมื่อ 13 ปีที่แล้ว นักอ่านการ์ตูนในบ้านเราก็ได้สัมผัสกับการ์ตูนฉบับลิขสิทธิ์กัน ถึงราคาจะสูงเมื่อเทียบกับยุคไม่มีลิขสิทธิ์ แต่ได้คุณภาพรูปเล่มมาทดแทน การมาของการ์ตูนลิขสิทธิ์นั้น ก็ทำให้เราได้อ่านการ์ตูนอย่างหลากหลาย และ ก็ทำให้สำนักพิมพ์ต่างๆในยุคไม่มีลิขสิทธิ์ ต่างล้มหายตายจากกันเป็นแถว เหลือเพียงค่ายยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่ค่ายเท่านั้น กว่าที่นักอ่านบ้านเราจะได้สัมผัสกับการ์ตูนฉบับลิขสิทธิ์เหมือนทุกวันนี้ นั้น มีเรื่องราวความเป็นมาอย่างไรบ้าง

The Beginning.....จุดเริ่มต้น
การ์ตูนญี่ปุ่นญี่ปุ่นเข้ามาในเมืองไทยเมื่อใดนั้น หลักฐานข้อมูลยังไม่แน่นอน บ้างว่า เข้ามาเมืองไทยช่วงปี พ.ศ. 2519 หรือไม่ก็เข้ามาในช่วง พ.ศ.2520-2525 (ข้อมูลจาก Wikipedia) ซึ่งการ์ตูนญี่ปุ่นที่วางขายในสมัยนั้นล้วนเป็นการ์ตูนไร้ลิขสิทธิ์ โดยในสมัยยุคไร้ลิขสิทธิ์ ค่ายใหญ่ๆที่แข่งขันกับตีพิมพ์ออกขายการ์ตูนก็มี วิบูลย์กิจ,สยามสปอร์ตพับบลิชชิ่ง,มิตรไมตรี,ยอดธิดา,หมึกจีน , อนิเมท ,สามดาว และ สำนักพิมพ์อื่นๆ ซึ่งการแข่งขันในช่วงแรกๆ แต่ละค่ายก็นำเสนอจุดเด่นจุดด้อยของตน และ ต่างก็ทำนิตยสารรวมการ์ตูนรายสัปดาห์ เช่น The Talent ของมิตรไมตรี ,The Zero ของวิบูลย์กิจ,Nova ของหมึกจีน,Animate ของ อนิเมท โดยแนวการ์ตูนยอดฮิตในสมัยนั้นก็เป็นแนวต่อสู้ กับ แนวผู้หญิงตาหวาน

การ์ตูนเรื่องที่หลายเจ้านิยมวางแผงแข่งกัน
ล้วนมาจากการ์ตูนดังทางทีวีทั้งสิ้น เช่น ดราก้อนบอล ,เซนต์ เซย่า,โดราเอม่อน
คำสาปฟาโรห์
การ์ตูนผู้หญิงที่โด่งดังในยุคนั้น

โดย พื้นฐานของวงการนี้มาจากจิตใจที่รักการอ่านของคนที่ชอบการ์ตูน แรกๆก็อยากอ่านการ์ตูนที่ตีพิมพ์อยู่ที่ญี่ปุ่น พอตลาดเริ่มโต ก็เริ่มมีการแข่งขันมากขึ้น มีการตีพิมพ์กับทุกค่ายแย่งลูกค้าคนอ่านกันมา จุดเริ่มต้นก็มาจากการ์ตูนยอดฮิตทุกยุคสมัย อย่าง โดราเอม่อน แต่ละค่ายต่างก็เน้นขายโดราเอม่อนกัน แถมตั้งชื่อก็ไม่เหมือนกัน ทั้ง โดราเอม่อน โดเรม่อน โดราม่อน เจ้าแมวจอมยุ่ง เป็นต้น แถมมีโดราเอม่อนสารพัดเวอร์ชั่นของค่ายสามดาว หนึ่งในนั้นคือ โดราเอม่อนฉบับยำแหลก มีตัวละครจากดราก้อนบอลร่วมแจมด้วย โดยทางมิตรไมตรีออกมาได้เกิน 100 เล่ม ยิ่งอนิเมของโดราเอม่อนมีการแพร่ภาพทางทีวี ก็เป็นการช่วยโหมกระแสของโดราเอม่อนยุคนั้นอีกด้วย ส่วนทางฝั่งการ์ตูนผู้หญิง ก็มีรายสัปดาห์อย่าง เลม่อนของสยามสปอร์ตฯ Gift Extra รายปักษ์ของวิบูลย์กิจ ส่วนรวมเล่ม จะมีแค่ สยามสปอร์ตฯกับยอดธิดา โดยเฉพาะ กับการ์ตูนที่ชาตินี้จะมีวันจบหรือเปล่า อย่างคำสาปฟาโรห์ ที่ยอดธิดา ยังคงตีพิมพ์อยู่ ส่วนการ์ตูนผู้ชาย การมาของดราก้อนบอล ก็ทำให้มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด มีกันแทบทุกค่ายไม่ว่าจะเป็นรายสัปดาห์หรือรวมเล่ม แถมแต่ละค่ายก็เรียกชื่อตัวละครดราก้อนบอลไม่เหมือนกันอีก มีทั้ง หงอคง,โกคู,หงอฮัง,โกฮัง,ปิตโกโร่,พิคโกโร่,เบจิต้า,เบจิต เป็นต้น แถมยังสร้างปรากฎการณ์ในส่วนคนอ่านการ์ตูนสมัยนั้นคือ บ้านเราสามารถติดตามดราก้อนบอลกันอย่างกระชั้นชิด ช้ากว่ากับคนญี่ปุ่นเพียงไม่กี่วันเท่านั้น โดยทางสนพ.ในบ้านเรานั้นก็ลงทุนส่งคนไปที่นั่นเพื่อซื้อ โชเน็นจัมป์ และ ส่งแฟกซ์ต้นฉบับกลับมาที่บ้านเรา ในส่วนการแข่งขันของนิตยสารค่ายต่างๆ ที่แข่งกันอย่างเมามันส์ที่สุดก็คือ The Talent และ The Zero และก็เป็น The Zero ที่ยอดการพิมพ์ถึงหลักแสน ซึ่งสูงที่สุดในขณะนั้น

End of the Piracy Era ......ช่วงสูญญากาศ
หลังจากการแข่งขันกันอย่างดุเดือดของยุคไร้ลิขสิทธิ์ ในที่สุดก็ถึงคราวดับ มีผลทำให้คอการ์ตูนไม่ได้เห็นการ์ตูนบนแผงกว่า 8 เดือน!!! จุดแตกหักนั้นก็มาจากมีสำนักพิมพ์ในบ้านเราต่างก็ได้รับจดหมายเตือนให้หยุด การพิมพ์ จำหน่าย การ์ตูนซะ จากสำนักพิมพ์ แอดวานซ์คอมมูนิเคชั่น(ปัจจุบันปิดตัวไปแล้ว) ที่อ้างว่าเป็นสำนักพิมพ์การ์ตูนลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องแต่เพียงที่เดียวใน ประเทศไทย ก็เลยมีผลทำให้ค่ายต่างๆต้องหยุดพิมพ์ มีผลทำให้สำนักพิมพ์เล็กๆต้องโบกธงขาวยอมแพ้ ต่างเลิกทำธุรกิจนี้กันเป็นแถว หนึ่งในนั้น The Talent และ มิตรไมตรีก็ถึงคราวชะตาขาด เมื่อสู้ต้นทุนไม่ไหว ถึงแม้จะพยายามแทรกเนื้อหาเกมลงใน The Talent มาแทนการ์ตูนบางเรื่องเพื่อดึงดูดคนอ่านแล้วก็เถอะ แต่ก็ไร้ผล ส่วนอนิเมท ก็เลิกทำการ์ตูนรวมเล่ม และ รายสัปดาห์ แต่ก็ยังคงทำนิตยสารทีวีแมกกาซีน และ นิตยสารในเครือเล่มอื่นๆอยู่
ในช่วงที่การ์ตูนหายไป 8 เดือน ก็เป็นช่วงที่สำนักพิมพ์ที่เหลือเริ่มเตรียมพร้อมก้าวสู่เป็นสำนักพิมพ์ ลิขสิทธิ์อย่างเต็มตัว

ในยุคไร้ลิขสิทธิ์ ก็มีนิตยสารการ์ตูนรายต่างๆ แข่งกันออกหลายเล่ม หลายเจ้า
โดยดึงการ์ตูนเรี่องที่ได้รับความนิยมในขณะนั้นเป็นตัวชูโรงของแต่ละเล่ม
แต่จากการมาของยุคลิขสิทธิ์ ทำให้นิตยสารการ์ตูนหลายเล่มต่างต้องเลิกพิมพ์กันเป็นแถว

Licence Era.........ยุคลิขสิทธิ์
การ์ตูนดังเรื่องต่างๆก็กลับมาในนักอ่านบ้านเราได้สัมผัสกันอีกครั้ง ก็ต้องขอบคุณในความพยายามของแต่ละค่ายที่ได้ไปคุยกับเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง ซึ่งทางเจ้าของเจ้าของลิขสิทธิ์ก็ยื่นคำขาดว่า ถ้าอยากจะทำลิขสิทธิ์จะต้องหยุดทำการ์ตูนไร้ลิขสิทธิ์ทันที และสำนักพิมพ์ต่างๆก็ยอมทำตามเงื่อนไขแต่โดยดี (ส่วนทางเราก็เสนอเงื่อนไขขอพิมพ์รายสัปดาห์แบบตอนต่อตอนจากญี่ปุ่น)เรื่อง แรกๆที่ได้รับลิขสิทธิ์ในตอนนั้นก็มแต่เรื่องที่ยังไม่ค่อยน่าสนใจ จนกระทั่งได้เห็นเรื่องลิขสิทธิ์อย่าง "จิ๋วพลังอึด"(การ์ตูนญี่ปุ่นลิขสิทธิ์ถูกต้องเรื่องแรกของวิบูลย์กิจ),ถล่ม โรงเรียนอสูร,นิตยสาร Friday Magazine ส่วนทางสยามสปอร์ตฯก็เปลี่ยนเป็น สยามอินเตอร์คอมิคส์ (หรือ สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย) การตอบรับในตอนนั้นก็ดีพอสมควร แต่ทางสำนักพิมพ์ก็ยังคงขาดทุนอยู่ดี และ ก็ยังไม่ครอบคลุมมาก ก็เลยทำให้เกิดสำนักพิมพ์ไพเรท ไร้ลิขสิทธิ์ ก็เลยเป็นการแข่งขันกันระหว่างการ์ตูนลิขสิทธิ์กับการ์ตูนไพเรท โดยในขณะนั้น การ์ตูนลิขสิทธิ์ยังคงเสียเปรียบกับเนื้อเรื่องที่ไม่ถูกใจ และ ราคาสูงเมื่อเทียบกับของไพเรท
พอถึงยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำเอาต้นทุนทางด้านกระดาษสูงขึ้น ก็ทำให้หนังสือการ์ตูนลิขสิทธิ์ต้องเพิ่มราคาหนังสือเป็น 35 บาท (ปัจจุบัน 40-45 บาท) ทั้งที่เมื่อก่อนมีราคาแค่ 20-25 บาทเท่านั้น จากจุดนี้ก็ทำให้สำนักพิมพ์ลิขสิทธิ์เริ่มจะเน้นคุณภาพรูปเล่มของตัวเองให้ เหนือกว่าของไพเรท หลังจากที่เมื่อก่อนคุณภาพของการ์ตูนลิขสิทธิ์ยังไม่แตกต่างจากการ์ตูนไพเรท เท่าไหร่ แต่การที่ต้นทุนการตีพิมพ์เพิ่มสูงก็มีผลทำให้สำนักพิมพ์ไพเรทบางแห่งถึง คราวต้องปิดตัวลง แต่บางแห่งก็ยังคงพยายามเพิ่มคุณภาพให้ทัดเทียมกับของลิขสิทธิ์มากที่สุด

หลัง จากที่ยุคลิขสิทธิ์ผ่านไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในที่สุดก็เข้าสู่ยุคลิขสิทธิ์เต็มตัว โดยค่ายยักษ์ใหญ่ในบ้านเราอย่าง วิบูลย์กิจ และ สยามอินเตอร์ฯ ได้พิสูจน์ตัวเองต่อนักอ่านและเจ้าของลิขสิทธิ์ จนสามารถกรุยทางลิขสิทธิ์อย่างเป็นทางการ รวมถึงการมาของคู่แข่งรายใหม่อย่าง เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ที่นำนิตยสาร BOOM เข้าสู่แผง และ ลิขสิทธิ์ยุคแรกๆของค่ายนี้ก็เป็น ,บูรพัฒน์ เน้นตลาดการ์ตูนจีน-ฮ่องกง และ บงกช คอมิคส์ ที่เน้นตลาดการ์ตูนผู้หญิง แต่ทว่า ก็ยังสำนักพิมพ์ไพเรทที่ยังคงรอดตายมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็ได้แก่ หมึกจีน ,Line Art Planning ,New Project,Ant Comics เป็นต้น

ปัจจุบัน นี้ การ์ตูนลิขสิทธิ์ในบ้านเราก็ยังคงอยู่ได้ และ น่าจะเป็นยุคที่เฟื่องฟูของวงการการ์ตูนในบ้านเรายิ่งกว่าสมัยก่อน ทั้งการ์ตูนหลากเรื่อง หลากประเภท มีทั้งการ์ตูนญี่ปุ่น จีน เกาหลี รวมถึงการพัฒนาการ์ตูนของไทยทั้งอนิเมชั่นและคอมิค แม้จะมีสำนักพิมพ์ไพเรทอยู่บ้างแต่ก็ไม่มีผลใดๆ ต่อค่ายลิขสิทธิ์ ซึ่งการมาของการ์ตูนลิขสิทธิ์นั้น ก็พิสูจน์ได้ว่า สามารถทำให้ผู้อ่านในบ้านเรายอมรับได้มากกว่า ทั้งเป็นการจัดระเบียบการ์ตูนอย่างชัดเจน และ เพิ่มมาตรฐานของคุณภาพหนังสือให้มีคุณค่าพอที่จะเก็บสะสม มีความมั่นคงขึ้นมาบ้างว่าจะได้อ่านเรื่องนั้นจนจบ และ ถือเป็นการสนับสนุนเจ้าของผลงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วย แต่การมาของการ์ตูนลิขสิทธิ์ ที่มีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อนมากกว่าเดิม ต้องทำรูปเล่มและต้องให้เจ้าของลิขสิทธิ์มาดูด้วย ด้วยความพิถีพิถันของเจ้าของผลงานบางท่านที่ค่อนข้างจะเรื่องมากนั้น ก็มีผลทำให้การ์ตูนที่ตีพิมพ์นั้นออกช้ากว่าเดิม ซึ่งผิดกักับการ์ตูนไพเรทที่ตีพิมพ์ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ติดเงื่อนไขใดๆ ที่แย่ไปกว่านั้น หากสำนักพิมพ์ไม่ยอมทำตาม ก็อาจทำให้ลิขสิทธิ์หลุดก็เป็นได้ ทำให้เราพลาดงานดีๆไปหลายงาน

และอีกส่วนหนึ่งที่บางคนยังไม่พอใจการ์ตูนลิขสิทธิ์ ก็มาจากราคากับคุณภาพของหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่สมน้ำสมเนื้อ หรือ หากเรื่องไหนที่ยอดขายไม่ดีเอามากๆ หรือ เรื่องที่ซื้อลิขสิทธิ์มา กลับมีฉากที่ไม่เหมาะสมกับสังคม วัฒนธรรมไทย ก็จะระงับการพิมพ์ไป หรือที่เรียกกันว่า ถูกลอยแพ นั่นเอง อีกกรณีหนึ่งก็เป็นผลมาจากฉากบางฉาก โดยเฉพาะกับฉากวาบหวิวที่มีอยู่ในการ์ตูนบางเรื่อง แถมยังรวมไปถึงเนื้อหาความรุนแรงที่แฝงในการ์ตูนบางเรื่อง ที่อาจไม่เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่านโดยเฉพาะผู้อ่านวัยเด็ก หลายสำนักพิมพ์ก็เลยแก้ปัญหากับฉากวาบหวิวที่ปรากฏในเรื่องเหล่านั้น ก็จะมีการเซ็นเซอร์ฉากเหล่านั้นด้วยวิธีการต่างๆ อาจทำให้ขัดใจนักอ่านบางคนก็เป็นได้ แต่ก็มีบางค่ายแก้ไขด้วยการแบ่งกลุ่มอายุของผู้อ่านที่เหมาะสมกับการ์ตูน เรื่องนั้นๆ โดยดูที่เนื้อหาและฉากเป็นหลัก ถึงจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่ก็ถือเป็นวิธีที่แก้ไขได้ในระดับหนึ่ง


หนังสือการ์ตูนรวมเล่ม และ นิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ในยุคลิขสิทธิ์
ถึงราคาจะแพงไปซักหน่อย หรือ คุณภาพการพิมพ์ การแปล อาจไม่ดีดั่งที่หวัง
แต่มาตราฐานโดยรวมนั้นย่อมดีกว่าการ์ตูนไพเรทไร้ลิขสิทธิ์อย่างแน่นอน



ทุกวันนี้ สำนักพิมพ์ต่างๆก็พยายามที่จะทำผลงานออกมาให้ถูกใจความต้องการของนักอ่านมาก ที่สุด โดยบางค่ายก็เริ่มจะผ่อนปรนตามญี่ปุ่นด้วยการยอมพิมพ์หนังสืออ่านขวาไปซ้าย แบบญี่ปุ่น(โดยเรื่องแรกที่ทำคือ Rash หมอสาวจอมดีเดือด ผลงานของ อ.สึคาสะ โฮโจ เคยลงใน C-Kids ด้วย) ก็ทำให้เราได้อ่านการ์ตูนสนุกๆกันมากขึ้น แม้ว่า การ์ตูนลิขสิทธิ์อาจมีบางสิ่งบางอย่างที่ยังทำให้นักอ่านบ้านเราไม่ถูกใจ บ้าง แต่หนังสือการ์ตูนลิขสิทธิ์ และ สำนักพิมพ์ก็ยังคงมีมาตรฐานที่ไว้ใจได้มากกว่า ซึ่งการที่หนังสือการ์ตูนลิขสิทธิ์สามารถอยู่คู่กับบ้านเราได้อีกนานเท่านาน ก็มาจาก การสนับสนุนผลงานของพวกเขาจากนักอ่านอย่างเราๆท่านๆกันอย่างสม่ำเสมอไงล่ะ ครับ


อ้างอิงข้อมูล และ ภาพ บางส่วน จาก นิตยสาร Comic Quest ฉบับที่ 14 คอลัมน์ "บันทึกปูมหลังการเข้ามาของฉบับลิขสิทธิ์"

kartoon-discovery.com
June 2007

from : http://www.kartoon-discovery.com/history/history3.html

ยินดีตอนรับค่ะ


BannerFans.com

News

welcome to miyakoebook !
Visit us at http://miyakoebook.multiply.com or click at the picture will take you to the miyakoebook link. Don't forget visit us over there.